ธปท.จี้แบงก์ปรับโครงสร้าง ลูกค้าผ่อน”บ้าน-รถ-บัตรเครดิต” เผยเกณฑ์ใหม่ ดอกไม่โหด!

วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธปท.จึงผลักดัน 2 มาตรการออกมาดูแล ทั้ง ลูกหนี้รายย่อย ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และอีกมาตรการคือ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ชอล์ฟโลน) เพื่อเอสเอ็มอี

ล่าสุด 17 พ.ค.รัฐบาลมีการผ่อนปรนการล็อกดาวน์บางธุรกิจ ผู้ประกอบการและรายย่อยทั่วไป อาจต้องการสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียน เพื่อซื้อวัตถุดิบ

สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ดังนี้คือ ลูกหนี้ สินเชื่อบัตรเครดิต เงินสดหมุนเวียน บ้าน และเช่าซื้อมอเตอร์ไซต์ ที่ผ่านมามีการ ลดเงินต้น 3-6 เดือน บัตรเครดิตลดผ่อนขั้นต่ำเหลือ 5% ของยอดหนี้ จากปกติขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้ และเงินต้นที่ค้างชำระขยายเวลาผ่อนเป็น 48 งวด และลดดอกเบี้ยลง 6% ต่อปี ,สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ขยายเวลาผ่อน 48 เดือนและลดดอกเบี้ยลง 6% จาก ต่อปี และพักเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน

สินเชื่อบ้าน พักเงินต้น ดอกเบี้ย 3-6 เดือน และลดค่างวดให้กับลูกค้า ,สินเชื่อส่วนบุคคล ผ่อนชำระค่างวด และสินเชื่อจำนะทะเบียนรถ สินเชื่อรถมอเตอร์ไซต์และรถยนต์ ลิสซิ่ง และสินเชื่อธุรกิจ เอสเอ็มอี ไมโครไฟแนนซ์และนาโนไฟแนนซ์ ให้มีการพักเงินต้นและดอกเบี้ย 3-6 เดือน ขยายเวลาผ่อน และลดค่างวด

ความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกหนี้ ล่าสุดมียอดเงินสินเชื่อที่ช่วยเหลือ 4.6 ล้านล้านบาท จำนวน 13.08 ล้านราย แบ่งเป็นรายย่อย 3 ล้านล้านบาท จำนวน 13.01 ล้านราย และธุรกิจรายใหญ่ และเอสเอ็มอี 1.2 ล้านล้านราย จำนวน 68,008 ราย

อย่างไรก็ตาม ธปท.อยากเห็นสถาบันการเงินเข้าช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ ให้งวดการชำระหและเงินก้อนที่ต้องชำระให้สอดคล้องกับ รายได้ที่จะเกิดขึ้นของลูกหนี้นั้นๆ การปรับโครงสร้างหนี้ต้องมีการลดดอกเบี้ย ลดค่างวด ลงอีก เพราะที่ผ่านมาเป็นมาตรการชั่วคราว และเมื่อ 1พ.ค.2563 ธปท.ได้ปรับเกณฑ์การคำนวนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ใหม่

“ก่อนหน้านี้ มีการคำนวนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ทั้งที่จริงอาจผิดนัดแค่ 1 งวดแต่นำยอดหนี้ที่ค้างทั้งหมดมาคำนวนดอกเบี้ยทำให้เป็นภาระกับลูกหนี้ ดังนั้นเกณฑ์ใหม่หากงวดที่ผิดนัดชำระมีเพียง 10,000 บาท ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายกรณีผิดนัดชำระจะมีเพียง 57 บาทเท่านั้น จะไม่ได้จ่ายจำนวนมากเหมือนในอดีตที่ก่อนหน้านี้หากลูกหนี้ ผิดนัดชำระงวดค่าผ่อนบ้านเพียง 1 งวด จะเอาหนี้ทั้งหมดที่แหลือสมมติ 4.77 ล้านบาท ผิดนัดชำระงวด 1 งวด 10,000 บาท นำ 10,000 บาทงวดหนี้คงค้างคำนวนดอกเบี้ยปรับจะจ่ายดอกเบี้ยปรับสูงถึง 27,433 บาท ถือว่าไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้”

นายรณดล กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ชอล์ฟโลน) เพื่อเอสเอ็มอี เป็นมาตรการที่ดำเนินการตั้งแต่ 23 เม.ย.-22ต.ค.2563 เพิ่มเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ มีวงเงิน 500,000 ล้านบาท การอนุมัติสินเชื่อจะให้วงเงินสินเชื่อซอล์ฟโลนวงเงินไม่ต่ำกว่า 20% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ณ 31 ธ.ค.2562 อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี นาน 2 ปี ฟรีดอกเบี้ย 6 เดือนระยะเวลา 6 เดือน จ่ายคืนเฉพาะเงินต้น และฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท

โดยห้ามสถาบันการเงินเรียกเก็บค่ะรรมเนียมใดๆ รวมถึงการขายพ่วงประกันรวมถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากสินเชื่อซอล์ฟโลน และ มาตรการชะลอการชำระหนี้ โดย 6 เดือนชะลอการชำระหนี้ ไม่ติดเครดิตบรูโร โดยลูกหนี้ต้องมีคุณสมบัติเป็นลูกหนี้ที่จดทะเบียนในประเทศไทย และไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในวันที่ 31 ธ.ค.2562 และมีวงเงินกัลสถาบันการเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าของการยื่นขอใช้ซอล์ฟโลนแล้วจำนวน 28,601 รายวงเงิน 49,308 ล้านบาท สินเชื่อมีการอนุมัติเฉลี่ยแล้ว 1.7 ล้านบาท/ราย เป็นธุรกิจขนาดเล็กไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดเป็น 72%ของผู้ยื่นขอสินเชื่อ เป็นลูกหนี้ในต่างจังหวัด 74% กรุงเทพฯและปริมณฑล 26% นอกจากนี้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ สามารถเดินทางไปติดต่อที่สถาบันการเงินนั้นๆ หรือไม่ก็เข้าไปที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. www.1213.or.th