‘ธปท.’ ควัก 5 แสนลบ. คลอดมาตรการอุ้มเอสเอ็มอี พร้อมพยุงตลาดตราสารหนี้

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปทได้ออกมาตรการชุดที่ 3 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดย เฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง(เอสเอ็มอี) ตลาดตราสารหนี้ เพื่อรักษาช่องทางการระดมทุนของภาคเอกชน และรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (...) สองฉบับ ได้แก่ 1.ร่าง ... การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 2.ร่าง ..การสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยพ...ทั้งสองฉบับนี้ให้อำนาจ ธปทในการบริหารจัดการสภาพคล่อง และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมีกลไกที่รัฐบาลจะช่วยรับภาระชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกที่จำเป็นในภาวะที่โรคระบาดยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจจะยืดเยื้อ โดยพ... ดังกล่าวจะช่วยให้ ธปท. มีเครื่องมือเพิ่มขึ้นสำหรับช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี) และมีเครื่องมือที่พร้อมใช้ดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนได้อย่างทันการณ์ โดยย้ำว่าพ...ที่ออกมา ไม่ได้ทำเพื่อให้ธปท.ไปกู้เงินเพิ่ม แยกส่วรออกจากกระทรวงการคลัง

นายวิรไทกล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือมีทั้งหมดมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง โดยจะครอบคลุมเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาพกิจ (ธนาคารไม่เกินแห่งละ 100 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์เป็นการทั่วไป ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต โดยธปท.คาดหวังว่ามาตรการดังกล่าว จะเป็นส่วนช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอี มีเงินสดในมือมากขึ้น และสามารถดูแลรักษาการจ้างงานในธุรกิจของตนเองได้ รวมถึงคาดหวังว่าในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องทำงานร่วมกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และช่วยจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกหนี้ รวมถึงแผนธุรกิจใหม่

ในเวลานี้ที่เป็นเวลายากลำบากของทุกคน เชื่อว่ายังคงมีธุรกิจเอสเอ็มอีหลายอย่าง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ที่ยังสามารถทำธุรกิจได้ตามปกติ ธปท.แนะนำว่าควรชำระหนี้ตามปกติหรือตามความสามารถ เพราะมาตรการนี้เป็นเพียงการเลื่อนกำหนดวันชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยอยู่ และที่สำคัญหากธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ ก็จะช่วยให้ธนาคารมีสภาพคล่องสามารถไปดูแลธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้นด้วย รวมถึงเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) เข้าไปช่วยเหลือสภาพคล่องให้ลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่ ธปท.จึงได้ผ่อนปรนเกณฑ์การบริหารสภาพคล่องชั่วคราวนายวิรไทกล่าว

นายวิรไทกล่าวว่า 2.การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ซึ่งคาดว่าจะช่วยเอสเอ็มอีได้ 1.7 ล้านรายเนื่องจากมีวงเงินคงค้างอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท โดยจะให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีในวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง ภายใต้วงเงินที่ธปท.จัดสรรรวม 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.01% ต่อปี โดยจะมองให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยสินเชื่อต่อเป็นเวลา 2 ปี ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2%  ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารนำไปปล่อยสินเชื่อโดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6  เดือนแรก ซึ่งจะสอดคล้องกับมาตรการแรกในการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ธุรกิจที่จะเข้าข่ายได้รับการสนับสนุนจะต้องมีสถานะผ่อนชำระปกติ หรือ ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ยังไม่เป็นหนี้เสี้ย นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา โดยมาตรการนี้ไม่ครอบคลุมถึงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงวงเงินที่เอสเอ็มอีแต่ละรายจะสามารถขอกู้ได้ไม่เกิน  20% ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้นับจากสิ้นเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งในภาวะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้แก่ธนาคารในส่วนที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมด้วย กรณีที่หนี้กลายเป็นหนี้เสียเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้ไม่เกิน 70% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท และชดเชยให้ไม่เกิน 60% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อ 50–500 ล้านบาท 

นายวิรไทกล่าวว่า 3.มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยจะมุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน เนื่องจากตลาดการเงินมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้หากตลาดใดไม่สามารถทำหน้าที่ได้ก็อาจส่งผลข้างเคียงเป็นลูกโซ่ไปสู่ตลาดการเงินอื่น และระบบการเงินโดยรวมได้ โดยปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือสูงกว่า 20 ของจีดีพีไทย ซึ่งตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมักเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง และได้รับผลกระทบสูงในเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความกังวลกับสภาพคล่อง โดย เพื่อดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน และกลไกของตลาดการเงินให้ทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ธปท. และกระทรวงการคลังจึงเห็นควรจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยกองทุนนี้จะเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราวในการเข้าไปเติมเต็ม แต่บริษัทจะต้องมีการวางแผนและเข้าซื้อตราสารหนี้ในระดับที่มีคุณภาพดีเท่านั้น โดยจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี2563–2564 บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด และ 4.ลดเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงินเพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคธุรกิจและประชาชน โดยธปท. จะปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ  จากเดิมอัตรา 0.46% เหลือ 0.23% ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในทันที

“ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการต่างๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มาตรการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ มาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมในครั้งนี้จะช่วยดูแลประชาชนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและระบบการเงินของประเทศให้ทำงานได้ต่อเนื่อง ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมจะมีมาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็นนายวิรไทกล่าว