อัยการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 วัน 600กว่าราย เด็ดขาดรวดเร็ว

รองโฆษก อสส.เผย 3 วัน อัยการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน พรก.เเล้ว600กว่าราย ตามนโยบาย “วงศ์สกุล”เด็ดขาดรวดเร็ว หยุดเเพร่ระบาดโควิด-19

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนเเจ้งวัฒนะ นายประยุทธ  เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เเถลงข่าวเปิดเผยสถิติผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับ 1
ระหว่างวันที่ 3 – 6 เมษายน ว่าเรื่องนี้ นายวงศ์สกุล  กิตติพรหมวงศ์  อัยการสูงสุด ได้กำชับให้สำนักงานอัยการทั่วประเทศ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้  โดยให้รายงานภาพรวมของการดำเนินคดีผ่านระบบสารบบคดีอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมแจ้งให้งานโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวบรวมและประมวลผลภาพรวมทั้งประเทศในการดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดดังกล่าว ถึงวันที่ 6 เมษายนซึ่งเป็นวันที่ศาลแขวงทั่วประเทศเปิดทำการในช่วงวันหยุดโดย มีนายรัชต์เทพ ดีประหลาด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการสำนักงานอัยการสูงสุด และนางณฐนน  แก้วกระจ่าง  ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์แล้วปรากฏผล ดังนี้

1. จำนวนคดี และ จำนวนผู้ต้องหาหรือจำเลยที่กระทำความผิดและถูกดำเนินคดี สำหรับภาพรวมทั้งประเทศมีการฝ่าฝืนทั้งสิ้น จำนวน 438 คดี  จำนวนจำเลยที่ถูกดำเนินคดี 623 ราย

2. ทุกคดีพนักงานอัยการได้มีคำขอให้ศาลลงโทษสถานหนัก ซึ่งศาลได้ใช้ดุลยพินิจ ลงโทษจำเลยตามคำขอของพนักงานอัยการ เช่น คดีที่พนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ลงโทษผู้จำคุก 2 – 4 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ (ข้อหามั่วสุม)  และคดีที่ศาลแขวงจังหวัดอุบลราชธานี ที่ให้จำคุก 15 วัน เปลี่ยนโทษเป็นกักขังแทน 15 วัน เป็นต้น

3. ประเภทคดีที่มีการฝ่าฝืนมากที่สุด  ได้แก่  การออกนอกเคหะสถาน โดยช่วงอายุที่กระทำความผิดมากที่สุด เป็นช่วงอายุระหว่าง 20-35 ปี รองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 35-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่กระทรวงสาธารณสุขให้ระมัดระวังในการแพร่เชื้อ

ทั้งนี้ จังหวัดที่มีสถิติผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูง เช่น กรุงเทพมหานคร  จังหวัดนนทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ ยังเป็นจังหวัดที่มีจำนวนสถิติคดีและจำนวนผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. มีจำนวนสูงด้วยเช่นกัน ซึ่งอัยการสูงสุดยังได้กำชับใช้พนักงานอัยการทั่วประเทศได้บังคับใช้กฎหมายอย่างรวดเร็วและเฉียบขาดต่อไป ตนจึงอยากเตือนประชาชนให้เคารพกฎหมาย เพราะเจ้าพนักงานจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเด็ดขาดในทุกข้อหาความผิด และจะขอให้ศาลลงโทษสถานหนักในทุกข้อหาเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายรัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา และอัยการสูงสุด ได้มีหนังสือ ที่ อส 0006(นย)/ว 137 แจ้งคำสั่ง มาตรการและแนวปฏิบัติให้แก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โดยนายวงศ์สกุลหนังสือเเจ้งอัยการทั่วประเทศตั้งเเต่วันที่ 31 มี.ค.เพื่อให้การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การดำเนินคดีประเภท ผู้ทำการกักตุนสินค้าอุปโภค บริโภค และจำหน่ายสินค้าเกินราคาควบคุม เช่น หน้ากากอนามัย ไข่ไก่ หรือสินค้าจำเป็นในครัวเรือน เป็นต้น การฉ้อโกงหรือ หลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง การส่งข้อความอันเป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกอบข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558(ฉบับที่ 1) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558พระราชบัญญัติว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยถือว่า การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวแล้วยังส่งผลให้มาตรการที่รัฐบาลกำหนดให้ ประชาชนปฏิบัติ เพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไป อย่างเฉียบขาด รวดเร็ว เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษตามกฎหมาย สอดคล้องกับการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะหยุดการแพร่ระบาดและป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อัน เป็นการซำ้เติมต่อประชาชน จึงกำหนดเเนวทางปฏิบัติในการดาเนินคดี

1. ให้ดำเนินคดีโดยปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และหนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เกี่ยวข้อง

2. ให้ถือเป็นคดีที่มีความจำเป็น เร่งด่วน ที่ต้องดำเนินคดีด้วยความรวดเร็ว

3. ให้พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจสั่งคดีและบรรยายฟ้อง ขอให้ศาลลงโทษในสถานหนัก และ ไม่รอการลงโทษ

4. ของกลางที่เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทาความผิด ขอให้ศาลมีคำสั่งริบตามกฎหมาย

5. ผู้กระทำความผิดที่มีประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันมาก่อน ให้บรรยายฟ้องให้ศาลทราบข้อเท็จจริง ขอให้ศาลลงโทษสถานหนัก หรือเพิ่มโทษหรือนับโทษต่อกัน หรือ ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย

6. ให้อธิบดีอัยการกำกับดูแลการดำเนินคดีของพนักงานอัยการในบังคับบัญชาให้เป็นไปตามแนวทาง ปฏิบัติตามหนังสือนี้โดยหนังสือดังกล่าว ได้แจ้งสั่งการให้อัยการทั่วประเทศถือปฏิบัติทราบแล้ว และถือปฏิบัติตั้ง