สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือ 18.3 ล้านดอลลาร์ ให้ประเทศอาเซียนต่อสู้ “โควิด-19”

เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม 2563) ตามเวลาท้องถิ่น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยว่า ในฐานะผู้นำการรับมือด้านสาธารณสุขโลกและมนุษยธรรมต่อการระบาดของโควิด-19 สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนมิตรประเทศอาเซียนของเราในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค รัฐบาลสหรัฐฯจึงมอบเงินช่วยเหลือฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและมนุษยธรรมมูลค่า 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 6 แสน 1 หมื่นล้านบาท) ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน ส่วนในระดับโลกนั้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ให้การลงทุนครั้งแรกเกือบ 274 ล้านเหรียญสหรัฐในด้านการช่วยเหลือฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรมกับประเทศที่มีความต้องการอย่างมาก นอกเหนือจากเงินทุนที่เรามอบให้แก่องค์กรระหว่างประเทศ เช่นองค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ

จนถึงปัจจุบันรวมเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐในการช่วยเหลือด้านสุขภาพฉุกเฉินจากกองทุนสำรองฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลกของ USAID และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัตินานาชาติของ USAID จำนวน 110 ล้านเหรียญสหรัฐ กับโรคระบาดทั่วโลกนี้ ผ่านสำนักงานประชากร ผู้ลี้ภัยและการย้ายถิ่นของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่เกิดจาก COVID-19 ในสถานการณ์วิกฤติด้านมนุษยธรรมกับประชาชนที่อ่อนแอส่วนใหญ่บนโลก

แถลงการณ์ระบุว่า สำหรับเงินช่วยเหลือที่สหรัฐฯให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน จะจัดสรรแบบรายประเทศ โดยประเทศไทยได้

-ความช่วยเหลือด้านสุขภาพประมาณ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการช่วยรัฐบาลไทยจัดทำระบบห้องปฏิบัติการ เปิดใช้งานการค้นหารายกรณี และเฝ้าระวังตามเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสำหรับการตอบสนอง และเตรียมพร้อมการสื่อสารความเสี่ยงการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและอื่น ๆ

-ศูนย์ควบคุมยับยั้งโรคระบาดของสหรัฐฯหรือซีดีซี (CDC) และผ่านทีมงานในประเทศของสถานเอกอัครรัฐทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จะให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการและให้ความช่วยเหลือในการรักษาผู้ป่วยสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากหวู่ฮั่น

-ซีดีซี จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยง การแปลเอกสารทางเทคนิคข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการด้านสาธารณสุขที่ไม่ใช่การแพทย์ และขั้นตอนการคัดกรองที่จุดขาเข้า

-สำนักงานป้องกันการคุกคามหรือดีทีอาร์เอ (DTRA) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้จัดเตรียมซีเควนเซอร์ทางพันธุกรรมสำหรับการวินิจฉัยการเฝ้าระวังและแหล่ง PPE ในท้องถิ่น

-ความช่วยเหลือระยะยาวในประเทศไทยนั้น รวมเงินช่วยเหลือด้านสุขภาพแล้วมากกว่า 213 ล้านเหรียญสหรัฐและมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นอกจากไทยแล้ว ยังมีประเทศกลุ่มอาเซียนที่ได้รับความช่วยเหลือได้แก่ บรูไน(คำขอจัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่ผลิตในสหรัฐฯ),กัมพูชา (เงินช่วยเหลือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ,อินโดนีเซีย (เงินช่วยเหลือ 2.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ),มาเลเซีย(จัดหาเครื่องช่วยใจและชุดป้องกัน-สนับสนุนวิจัยในการทดสอบต้านเชื้อและพัฒนาวัคซีน), ลาว (เงินช่วยเหลือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ), พม่า (เงินช่วยเหลือทั้งสาธารณสุขและมนุษยธรรม 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐ), ฟิลิปปินส์ (เงินช่วยเหลือ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ),เวียตนาม (เงินช่วยเหลือ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : U.S. Department of State