สธ.กระจายหน้ากาก 1.3 ล้านชิ้นต่อวันให้รพ.ทางไปรษณีย์ เคาะ 1.5 พันล้านซื้อเวชภัณฑ์

ปลัดสธ.เผย เตรียมกระจาย 1.3 ล้านชิ้นต่อวันให้รพ.ทั่วประเทศ ทางไปรษณีย์ อนุมัติงบ 1500 ล้าน ซื้ออุปกรณ์การแพทย์

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากขึ้น ตามคำแนะนำให้ลดการแพร่กระจายเชื้อโรค ต้องลดความแออัด และอยู่ห่างกัน 2 เมตร จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข 27-28 มีนาคมที่ผ่านมานั้น 71% นี้ทำเป็นนิสัยแล้ว ไม่ไปที่แออัด อีก 67.9% ห่างกันเกิน 2 เมตร แต่ก็ทำกันบ่อยๆ รวมแล้ว 95% หลีกเลี่ยงการการใกล้ชิดเกิน 2 เมตร ที่ 93% นั่นทำให้การเกิดโรคใหม่ๆของพี่น้องประชาชนที่ 100 กว่าคนนี้ เป็นความร่วมมือของพี่น้องประชาชน

สำหรับการจัดสรรทรัพยากรนั้น ต้องยอมรับว่าสถานการณ์การระบาดเป็นไปทั่วโลก สหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของเรา หรือยุโรป ที่เคยผลิตเครื่องมือต่างๆกัน ก็มีปัญหามากกว่าเรา ทำให้ทรัพยากรต่างๆลดลง ท่านนายกฯ​และ รมว.สธ.​ ได้มีการวางแผนต่างๆ โดย ได้จัดเตรียมหน้ากากอนามัยที่ผลิตในประเทศ จากตอนแรกที่กำลังผลิตยังไม่มาก ก็ผลิตได้ที่ 500,000 ชิ้น ต่อมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันผลิตได้ 1,300,000 ชิ้น

“ตั้งแต่วันที่ 7-28 มีนาคมนี้ เราได้จัดสรรหน้ากากอนามัยไปแล้ว 19,590,000 ชิ้น แบ่งให้กับรพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 10,350,000 ชิ้น รพ.ในสังกัดกระทรวงอื่นๆ ประมาณ 5 แสนชิ้น รพ.นอกสังกัด 770,000 ชิ้น รพ.สังกัดมหาดไทย 2,480,000 ชิ้น รพ.เอกชน 4,280,000 ชิ้น และรพ.สังกัดกทม. 1,150,000 ชิ้น อย่างไรก็ดี หลังจากได้พิจารณาความต้องการ ก็ได้เพิ่มจำนวนการจัดสรรหน้ากากขึ้น เป็น 1,300,000 ชิ้นต่อวัน ประกอบด้วย รพ.ในสังกัดสธ. 800,000 ชิ้น ,รพ.นอกสังกัด สธ. 100,000 ชิ้น , รพ.มหาวิทยาลัย 150,000 ชิ้น ,​รพ.เอกชน 150,000 ชิ้น และรพ.สังกัดกทม. 100,000 ชิ้น โดยร่วมกับไปรษณีย์จัดส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆของรัฐ ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งมีระบบติดตามต่างๆ” นพ.สุขุมกล่าว

นพ.สุขุม กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งข้อกังวลเรื่องการขาดแคลนหน้ากากอนามัย n95 ที่ใช้ในห้องฉุกเฉิน ไอซียู คนไข้ป่วยหนัก และผู้ป่วยโควิดนั้น เราจำเป็นต้องซื้อจากบริษัท 3 เอ็ม ที่ต้องนำเข้าจากสหรัฐ​อเมริกา ในไทยมีการผลิตเพื่อการส่งออกโดยมี บริษัท สยามโทเค็น จำกัด ที่ผลิตส่งออกประเทศญี่ปุ่น ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมานี้ ทำให้เราต้องจัดสรรหน้ากากเป็นการเฉพาะให้กับผู้ป่วยโควิด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ทั่วไปของโรงพยาบาล กำหนดว่าผู้ป่วย 1 คน ต้องใช้ n95 ต้องใช้หน้ากาก รวมทั้งชุดพีพีอี 15 ชุดต่อวัน และสำหรับผู้ป่วยที่ต้องติดตามอาการ 5 ชุดต่อวัน โดยตั้งแต่วันที่ 7-28 มีนาคม ได้จัดสรรหน้ากากอนามัยไปแล้ว 183,910 ชิ้น แบ่งเป็น รพ.ในสังกัดสธ. 117,950 ชิ้น , รพ.นอกสังกัด สธ. 3,230 ชิ้น , รพ.มหาวิทยาลัย 2,690 ชิ้น ,​รพ.เอกชน 14,410 ชิ้น และรพ.สังกัดกทม. 1,570 ชิ้น

“หากคาดคะเนว่ามีผู้ป่วย 10,000 คน เราต้องใช้ 500,000 ชิ้น หรือ 17,000 ชิ้นต่อวัน ทำให้มีการติดต่อหาแหล่งที่มา ก็ติดต่อ 3 เอ็ม นำเข้า 200,000 ชิ้น ในช่วงเมษายน ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะได้ตามจำนวนที่สั่งซื้อไป และซื้อจาก ออกโดยมี บริษัท สยามโทเค็น จำกัด เดือนละ 100,000 ชิ้น นำเข้าจากจีน 400,000 ชิ้น ซึ่งจะส่งมอบให้องค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคงคลังในรพ.สังกัดสป.อยู่ 172,556 ชิ้น และที่องค์การเภสัชกรรม 53,995 ชิ้น”

“สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับมอบจากประเทศจีนนั้นได้แก่ 1. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 100,000 ชิ้น ได้กระจายไปสู่โรงพยาบาลต่างๆแล้ว​ 2.ชุดตรวจ จำนวน 20,000 ชุด ส่งมอบให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 หน้ากาก N95 จำนวน 10,000 ชุด และ 4.ชุด ppe จำนวน 2,000 ชุด กระจายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในวันที่ 31 มีนาคมนี้”

นพ. สุขุม กล่าวว่า ขณะที่ของบริจาคจากอาลีบาบา นั้น แบ่งเป็น หน้ากากกันฝุ่น ที่จะกระจายให้กับภาคเหนือที่มีปัญหาฝุ่นละออง รวมทั้งชุดต่างๆ และหน้ากากอนามัย จะกระจายไปตามที่ต่างๆ และสามจังหวัดชายแดนใต้ ในวันที่ 31 มีนาคม และส่วนของยาฟาวิทิลาเวีย หรือยาต้านไวรัส มีความต้องการอยู่ที่ 100,000 เม็ด โดยจะจัดหาจากประเทศญี่ปุ่น 240,000 เม็ด เบื้องต้นจะเข้าถึงไทยในวันที่ 30 มีนาคมนี้ จำนวน 40,000 เม็ด และจากประเทศจีน 100,000 เม็ด จำนวน โดยมีคงคลังอยู่ 23,910 เม็ด กระจายทั่วประเทศไทย ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ

“นายกฯ ให้งบประมาณมา 1,500 ล้านบาท เป็นงบกลาง ในการซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ หน้ากาก ชุดป้องกันเชื้อโรค โอนให้กับองค์การเภสัชกรรม เช่นชุด ก็ติดต่อประสานจากเวียดนาม ซื้อเพิ่มเติมจากจีน เป็นรัฐต่อรัฐ ก็ประสานโดยนายกฯ และอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สธ. และหน้ากากอนามัย ตอนนี้ล็อตแรก 400,000 ชุด กำลังจะเดินทางเข้าประเทศ และค่อยๆทยอยเข้ามา น่าจะพอสำหรับ 1 เดือนนี้ สำหรับโควิด 19 โดยจะนำไปกระจายทั่วประเทศ ซึ่งได้นำเรียนนายกฯ แล้ว ว่าอาจจะต้องแบ่งส่วนหนึ่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการใช้”