รัฐบาลขอทีวีงดถ่ายทอดชกมวย-งดจกข้าวเหนียวใส่บาตร-ให้พระนั่งทำวัตรห่างกัน

 “วิษณุ” เผย ขอความร่วมมือทีวีงดถ่ายทอดการชกมวย-งกจกข้าวเหนีบวใส่บาตร-พระนั่งทำวัตรห่างกัน-กองถ่ายเพิ่มมาตรการระมัดระวัง เว้นกิจกรรมใกล้ชิดทุกอย่าง 

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แถลงข่าวว่า ที่ประชุมได้มีการทบทวนมาตรการต่างๆหลังได้มีการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และผู้ที่เสียชีวิต แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นพอใจเต็มที่ เพราะยังมีบางกรณี ซึ่งแม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม และส่วนรวมได้ จึงอยากฝากประชาชนสัมพันธ์ให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น ไม่เช่นนั้น อาจจะต้องไปสู่มาตรการที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้น จึงอยากให้เข้มงวดมาตรการอยู่กับบ้าน เพราะเมื่อดูจากรถบนท้องถนนต้องให้น้อยลงกว่านี้ กิจกรรมสังสรรค์บางอย่างที่ควรงดก็ยังทำกันอยู่ อย่างไรก็ตาม วันนี้ได้ขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ทั้งหลายว่าในเดือนเมษายนนี้ ของดการถ่ายทอดชกมวย เพราะเป็นความเสี่ยงของผู้ขึ้นชก และผู้ที่มารวมตัวกันดูถ่ายทอดชกมวด นอกจากนี้ กิจกรรมที่ให้เว้นระยะห่างกัน (Social distancing) มีการร้องเรียนเข้ามาที่ศูนย์โควิดว่ามีการแข่งเรือเจ็ตที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำลำคลองต่างๆ และกรณีวินมอเตอร์ไซต์ก็ยังเป็นจุดที่อันตราย เพราะผู้ขับอาจจะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย หรือมีการเกาะเอวซ้อนท้าย ส่วนในต่างจังหวัด เช่น ชายแดนอีสานยังมีการใส่บาตร โดยเฉพาะการเอามือจกข้าวเหนียวใส่ในบาตร แม้จะเป็นวิธี และธรรมเนียมปฏิบัติแต่ถือว่าเป็นการแพร่เชื้อที่น่ากลัวมาก การทำวัตรเช้าเย็น-เย็นของพระที่อาจจะนั่งใกล้กัน กองถ่ายทำที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมากก็ขอให้ระมัดระวังด้วย

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า เรื่องแผนการจ่ายหน้ากาก และเครื่องมือต่างๆขอย้ำว่า เราจะล้างตัวเลขเก่าที่มีทั้งหมด เช่น การมีหน้ากากในสต็อก 200 ล้านชิ้น เป็นต้น ให้ถือว่าตัวเลขทั้งหมดนั้นผิดพลาด เราล้างข้อมูล และทำการประเมินใหม่ โดยเรามีโรงงงานที่จะผลิตหน้ากาก 11 โรงงาน ผลิตได้วันละ 2.3 ล้านชิ้น เราก็มาวางแผนการกระจายหน้ากากใหม่ โดยใช้บริการของไปรษณีไทยขนหน้ากากไปทั่วประเทศ โดยจะมีกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยรับมอบ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ 1.3 ล้านชิ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทางการแพย์เท่านั้น และอีก 1 ล้านชิ้น เป็นโควตาของกระทรวงมหาดไทย เพื่อส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะให้ อสม. ที่ไปเฝ้าระวังผู้ป่วยในต่างจังหวัด ให้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดูแลประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความเสี่ยง เช่น พนักงานขนขยะ ตำรวจ ทหาร ที่ตั้งด่านตรวจระหว่างทาง และให้ผู้มที่มีความเสี่ยงได้แก่เด็ก และคนชรา วันนี้ดีเดย์ 17.00 น. ที่รถขนของไปรษณีย์ไทยจะขนจากหน้าโรงงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังไม่ไปถึงมือประชาชน หรือไปถึงมือร้านค้า เพราะหมดแล้ว ขอให้รอไปอย่างนี้ 3-4 วัน เพื่อให้บุคลากรมีหน้ากากใช้กย่างครอบคลุม แล้วเราจะปรับแผนการจ่ายให้ประชาชนและร้านค้า

ส่วนการส่งหน้ากากออกต่างประเทศนั้นไม่มี เพราะถือว่าเป็นสินค้าควบคุม แต่ยังต้องมีการส่งออกเพรราะมีพันธสัญญาทางกฎหมายได้แก่ 1.ส่งออกเพราะเป็นกรณีการได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ 2.เป็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา จ้าง วัสถุดิบจากต่างประเทศ และ 3.มีสัญญา FTA ระหว่างประเทศต่อกัน แต่จะพยายามเจียด และแบ่งออกมาให้ใช้ในประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น ใช้มาตรา 77 ที่ระบุว่า ส่งออกได้ แต่หากรัฐมีมาตรการด้านความมั่นคงอาจจะห้ามส่งออกได้ รัฐพร้อมที่จะใช้ระงับการส่งออก หรือแบ่งมาใช้ในประเทศ ส่วนสำหรับภาคเอกชนที่ต้องการเอาหน้ากากอนามัย เครื่องมือเวชภัณฑ์ หรือยาเข้ามาในประเทศ ขณะนี้กรมสุลกากรโดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสำหรับหน้ากากแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ส่วนยา และเครื่องมือเวชภัณฑ์กำลังจะดำเนินการยกเลิกเช่นกัน แต่รอการจัดทำรายการระหว่างกรมสุลกากรกับกระทรวงสาธารณสุขว่ามีอะไรบ้าง คิดว่า 2-3 วันนี้จะสามารถยกเลิกภาษีในส่วนนี้ได้

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ส่วนการนำเข้าหน้ากากอนามัย กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า เดิมทีการน้ำเข้าจะใช้เวลาตรวจสอบโดย อย. หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเดือนจริง แต่ตอนนี้เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด การนำเอาหน้ากากอนามัย ยา หรือเวชภัณฑ์ อย.จะใช้เวลาตรวจไม่เกิน 1 วัน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะใช้เวลาตรวจอีกไม่เกิน 4 วัน รวมเป็น 5 วัน จะสามารถนำเอาของออกมาได้ ถ้าใช้เวลาเกินกว่านี้ถือว่าผิดปกติ ซึ่งรัฐจะไปตรวจตรา และเข้มงวดในจุดนี้เพิ่มขึ้น

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ต่อมาคือการควบคุมสินค้าบางตัว เช่น ไข่ ขณะนี้ไข่เป็นสินค้าห้ามนำออกนอกประเทศ ที่มีข่าวลือว่ามีเครื่องบินมาขนไปต่างประเทศนั้น ถ้าของเดิม ของเก่านั้นจริง แต่ของใหม่ไม่มีการส่งออกไป เราจะเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุมราคาที่จะออกจากฟาร์ม จะไม่เข้มงวดกับผู้ค้ารายปลีก แต่จะควบคุมตั้งแต่ที่พ่อค้าคนกลาง และขอความกรุณาผู้บริโภคอย่ากว้านซื้อมากักตุนเอาไว้เพื่อบริโภคเลย เพราะไม่ขาดตลาด เพราะวันหนึ่งเราสามารถผลิตออกมาได้กว่า 41 ล้านฟอง เมื่อไม่ส่งออกแล้วก็จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ซึ่งเราบริโภคไข่ไก่ในประเทศวันละประมาณ 39 ล้านฟอง เหลืออยู่อีก 2 ล้านฟอง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เชื่อว่าอีกไม่กี่วันจะมาถึงภาวะไข่ไก่ล้นตลาด เพราะของใหม่ก็ออกมา ของเก่าก็ยังอยู่