รพ.ทั่วสหรัฐฯเริ่มใช้พลาสมา คนหายป่วย “โควิด-19” รักษาคนไข้เป็นครั้งแรก

วันที่ 25 มีนาคม 2563 เว็บไซต์อินดีเพนเด้นต์ของอังกฤษรายงานว่า สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ได้ออกบทสรุปข้อปฏิบัติในยามฉุกเฉิน ให้โรงพยาบาลทั่วสหรัฐฯเริ่มสามารถใช้ น้ำเลือด หรือพลาสมา ของคนไข้ที่หายป่วยจากโคโรน่าไวรัส “โควิด-19” มาใช้รักษากับผู้ติดเชื้อได้แล้ว โดยแพทย์หวังว่าแอนตี้บอดี้ในน้ำเลือดของผู้หายป่วยจะใช้รักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงได้ ท่ามกลางสถานการณ์การติดเชื้อในสหรัฐฯที่ล่าสุดมีมากกว่า 55,000 คนและเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 784 ราย

โดยแอนดรูว์ คัวโม่ ผู้ว่าการนครนิวยอร์ก ซึ่งพื้นที่ศูนย์กลางการระบาดใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ประกาศว่าให้ทำการปฏิบัติทดสอบได้ในสัปดาห์นี้

นายคัวโม่กล่าวว่า การทดสอบที่แสดงผลว่า เมื่อคนถูกฉีดด้วยแอนตี้บอดี้ซึ่งจะกระตุ้นและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับผู้ติดเชื้อ

ตามรายงานข่าวของเอ็นบีซีระบุ จีนเริ่มใช้พลาสม่าของเลือดกับผู้ป่วยโควิดด้วยสัญญาณว่าอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติที่ใช้เพื่อลดอาการและลดการรักษาในโรงพยาบาลในช่วงที่มีการระบาดของโรคซาร์สและอีโบลา

ด้านดร.อาร์ทูโร คาซาเดวาลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ในสหรัฐฯกล่าวกับเอพีว่า เราไม่รู้จนกว่าได้ลงมือทำ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็สนับสนุนวิธีดังกล่าว
ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการภาวะฉุกเฉินของเอฟดีเอระบุ แพทย์ต้องขออนุญาตในการรักษากับอาการขั้นรุนแรงเป็นรายกรณีและต้องรับรองในกรณีเสี่ยงถึงขั้นชีวิต โดยแถลงการณ์ของเอฟดีเอระบุเพิ่มเติมว่า การใช้พลาสมาที่พักฟื้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคก่อนหน้านี้ แต่การรักษาวิธีนี้กับโคโรน่าไวรัส นั้นยังคงถูกกำหนดผ่านทางการทดลองทางคลินิกก่อนที่จะถูกนำออกใช้ทั่วสหรัฐอเมริกา