สนค.ชี้ “โควิด-19” ไม่กระทบเงินเฟ้อ ส่วนตัวเลขก.พ’63 สูงขึ้น 0.74% มาจากภัยแล้ง

สนค.เผยปัญหาไวรัสโควิด-19 ไม่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ ก.พ.2563 โดยปัจจัยหลักมาจากภัยแล้งกระทบต่อราคาสินค้าอาหารสดสูงขึ้น รวมไปถึงเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ปรับสูงขึ้นทุกกลุ่ม น้ำอัดลม น้ำหวาน รอประเมินเงินเฟ้อทั้งปีหลังไตรมาส 1

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เท่ากับ 102.70 สูงขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.05% โดยเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นสาเหตุสำคัญมาจาก การเพิ่มขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลร์ที่ปรับสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า เช่น อาหารสด อาหารสำเร็จรูป เครื่องประกอบอาหารที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่วนกลุ่มพลังงานกลับมาหาดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน ขณะที่ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ 2563 ทาง สนค. คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 0.4-1.2% เฉลี่ยค่ากลางอยู่ที่ 0.8% ภายใต้สมมุติฐานทั้งปี 253 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีพีดี) 2.7-3.7% ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 58-68 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน 30-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็นดี สนค.ยังไม่ปรับประมาณการเงินเฟ้อจะพิจารณาอีกครั้งเป็นรายไตรมาส

โดยเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สูงขึ้นตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 2.04% สูงขึ้นทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 7.77% โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้น 2.44% เช่น เนื้อสุกร กระดูกซี่โครง ปลานิล จากความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ผัก ผลไม้ สูงขึ้น 3.0% จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอออลล์ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน สูงขึ้น 2.31% ขณะที่หมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.01% จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 0.48% ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทึกประเภท ยกเว้น ก๊าซ LPG และการสื่อสาร หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลง 0.01% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.38% อย่างไรก้ดี เงินเฟ้อเมื่อเทียบเดือนมกราคม 2563 ลดลง 0.08% และเฉลี่ย 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2563 สูงขึ้น 0.89%

อย่างไรก็ดี สำหรับปัญหาไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าทั่วไปหรือทำให้สินค้าทั่วไปมีความขาดแคลนหรือปรับราคาขึ้นแต่การทำโปรโมชั่นในตอนนี้จะลดลงบ้าง แต่ยอมรับว่าไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบให้สินค้าหน้ากากอนามัย เจลล้างมือราคาปรับขึ้นบ้าง ดังนั้น ประชาชนไม่จำเป็นที่ต้องกักตุนสินค้าในกลุ่มอาหาร อุปโภค บริโภคเพราะยังเพียงพอต่อความต้องการ แต่ปัจจัยที่จะกระทบราคาจะมีผลกระทบจากภัยแล้งเป็นสิ่งสำคัญและคาดว่าแนวโน้มราคาสินค้าน่าจะปรับขึ้น โดยประเมินว่าเงินเฟ้อทั้งปีมีโอกาสต่ำกว่า 0.8% แต่ก็ต้องติดตามเรื่องของงบประมาณ การส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นซึ่งมีผลต่อรายได้ภาคประชาชน

ขณะที่ สำหรับความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 422 รายการ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามีสินค้าปรับสูงขึ้น 243 รายการ อาทิ ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ผักคะน้า กระเทียม ค่าโดยสารรถประจำทาง 1 ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ (ค่าเช่ารถตู้) ค่าเช่าบ้าน สินค้าลดลง 100 รายการ อาทิ แก๊สโซฮออล์ 91 แก๊สโซฮอลล์ 95 แก๊สโซฮอลล์ E20 น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ค่าทัศนาจรต่างประเทศ พริกสด ลองกอง นมผง และสินค้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา 79 รายการ