เปิดผลจัดอันดับเมืองอากาศแย่สุดในโลก อินเดียกวาดเพียบ อาเซียนแซงจีน

NEW DELHI, INDIA - NOVEMBER 7: Schhol going children wear masks to protect themselves from the toxic Delhi - NCR air at Mayur Vihar phase III, on November 7, 2016 in New Delhi, India. A million school children were forced to stay at home, some businesses urged employees not to come to work and long queues formed outside shops selling face masks on Monday as New Delhi struggled with its worst pollution for nearly 20 years.(Photo by Mohd Zakir/Hindustan Times via Getty Images)

เมื่อวานนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2563) ซีเอ็นเอ็น รายงานผลการจัดอันดับคุณภาพอากาศโลกปี 2562 จัดโดย IQAir AirVisual ปรากฏว่าอินเดียครองแชมป์มีจำนวน เมืองที่อากาศแย่มากที่สุดในโลก กวาดไปถึง 21 แห่งจาก 30 อันดับทั่วโลก และมี 6 เมืองครองอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเทียบกับหลายๆ เมืองในจีน ปรับปรุงคุณภาพอากาศดีขึ้น

เมืองที่อากาศแย่ที่สุดในโลก คือ กาซิอาบาด ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ วัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5ไมครอน หรือ พีเอ็ม 2.5 ทะลุระดับ 110.2 มากกว่าค่ามาตรฐานที่สำนักคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ กำหนดไว้ 9 เท่า

กรุงนิวเดลีของอินเดียวัดดัชนีคุณภาพอากาศหรือ เอคิวไอ เกินระดับ 800 ซึ่งเกินระดับ “อันตราย” 3 เท่า
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้คนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากอากาศพิษส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ มะเร็งและโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ

เมืองส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 วัดค่ามลพิษเกินกว่าระดับคุณภาพอากาศที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มักเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

เอเชียใต้ เป็นทวีปที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเมืองต่างๆ ที่มีอากาศย่ำแย่ 27 แห่งจาก 30 แห่งอยู่ในอินเดีย ปากีสถานหรือบังกลาเทศ เฉพาะปากีสถาน มี 3 เมือง ที่ติดโผ 10 อันดับแรกเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก

ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เร่งพัฒนาความเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมลพิษและปล่อยพีเอ็ม 2.5 จำนวนมาก เป็นครั้งแรกที่เมืองของอาเซียน ได้แก่ กรุงจาการ์ตาในอินโดนีเซียและกรุงฮานอย เวียดนามแซงหน้า กรุงปักกิ่งของจีน ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก

เมื่อจัดอันดับตามประเทศ อินโดนีเซีย รั้งอันดับ 6 จีนอันดับ 11 และเวียดนาม อันดับ 15 ขณะที่ไทยอยู่อันดับ 28 จากการสำรวจ 98 ประเทศ

แม้จีนมีการปรับปรุงแก้ไขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้มลพิษในปี 2562 ลดลงร้อยละ 9 จากปี 2561 ลดค่าพีเอ็ม 2.5 มากกว่าครึ่งจากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่เมืองส่วนใหญ่ ร้อยละ 98 ในจีนยังมีค่ามลพิษสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ทำให้เมือง 47 แห่งของจีนติดอันดับ 100 เมืองแรกที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

รายงานดังกล่าวระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ เช่น ทำให้เกิดสภาพการเป็นทะเลทราย เกิดไฟป่าและพายุทรายบ่อยครั้ง และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อากาศสกปรก

CAKARTA, INDONESIA – SEPTEMBER 09: A general view of the Indonesian capital city of Jakarta as the smog covers the city on July 9, 2019. Based on Air Quality Index, Jakarta scored PM 2.5 data over 150 which indicates ”unhealthy” air quality. (Photo by Mahmut Atanur/Anadolu Agency via Getty Images)

หลายประเทศยังต้องพึ่งพาพลังงานจากถ่านหิน เป็นต้นตอทำให้เกิดพีเอ็ม 2.5 รวมทั้ง จีนที่เป็นผู้ผลิตและบริโภคถ่านหินมากที่สุดในโลก

ยานน์ โบควิลลอด ผอ. IQAir มองในแง่ดีว่าประชาชนเริ่มตระหนักถึงภัยของมลพิษมากกว่าภาครัฐเสียอีก เช่น พลเมืองในกรุงฮานอย ที่ใส่ใจดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศทำให้รัฐบาลหันมาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่วนชาวจาการ์ตาลุกขึ้นมาฟ้องรรัฐบาลที่ทำให้อากาศเสีย

สำหรับอินเดีย แชมป์อากาศแย่ เริ่มโครงการทำความสะอาดอากาศเป็นครั้งแรก ตั้งเป้าลดค่าพีเอ็ม 2.5 และพีเอ็ม 10 ในเมืองต่างๆ 102 แห่ง ให้ได้ร้อยละ 20-30 ภายในปี 2567 เมื่อเทียบกับคุณภาพอากาศในปี 2560