“วุฒิสภา” เข้ม ปมกมธ.-ส.ว. บินนอก ย้ำ ภายในปีงบประมาณเดินทางไปกับกมธ.ได้เพียงคณะเดียวเท่านั้น

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นายวันชัย สอนสิริ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ประชุมวิปวุฒิสภาได้มีความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณในการเดินทางไปราชการต่างประเทศของกมธ.สามัญประจำวุฒิสภาตามร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นเงิน 67,500,000 บาท โดยในเรื่องการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการวุฒิสภาทั้ง 26 คณะนั้น วิปวุฒิสภาได้คุยกันอย่างรอบคอบถึงขั้นเคยมีการเสนอว่าควรให้งดการเดินทางไปต่างประเทศ แต่เนื่องจากมีคณะกรรมาธิการบางคณะที่มีข้อตกลและความร่วมมือด้านต่างประเทศเอาไว้ทำให้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม วิปวุฒิสภาได้มีมาตรการกำชับเรื่องการใช้งบประมาณในส่วนนี้สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1.ต้องเป็นการเดินทางไปศึกษาดูงานอย่างแท้จริง 2.ต้องเดินทางไปด้วยความประหยัดเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์กับงานของวุฒิสภา และ 3.ห้ามเดินทางไปในลักษณะของการท่องเที่ยวอย่างเด็ดขาด โดยมอบหมายให้พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นผู้พิจารณา

“วิปวุฒิสภาคำนึงถึงความจำเป็นของการเดินทางไปต่างประเทศของกมธ.บางคณะ แต่ก็ได้วางมาตรการอย่างเข้มงวด และต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนให้มากที่สุด โดยเมื่อคณะกรรมาธิการคณะใดเดินทางกลับมาแล้วจะต้องทำรายงาน และแถลงต่อวุฒิสภาและประชาชนด้วย ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวในปัจจุบันเป็นการดำเนินการให้งบประมาณเป็นรายหัวไม่ใช่จัดสรรงบประมาณเป็นรายกมธ.แบบในอดีต เนื่องจากปัจจุบันคณะกรรมาธิการแต่ละคณะมีจำนวนส.ว.ที่เข้าไปเป็นกมธ.ไม่เท่ากัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจึงจัดสรรงบประมาณเป็นรายหัว หัวละ 2.7 แสนบาทภายในปีงบประมาณ โดยกำหนดให้ส.ว.เดินทางไปกับกมธ.ได้เพียงคณะเดียวเท่านั้น และที่สำคัญการเดินทางไปต่างประเทศต้องไม่ไปในช่วงเปิดสมัยประชุมและต้องไม่กระทบต่อการทำงานของวุฒิสภา จึงขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นการเอาเงินมาแจกกันเอง” นายวันชัย กล่าว

นายวันชัย กล่าวว่า ทั้งนี้ การเดินทางไปต่างประเทศถือเป็นสิทธิของส.ว.แต่ละคนที่จะเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ก็ได้ซึ่งเท่าที่ทราบก็มีส.ว.หลายคนที่แจ้งความประสงค์ว่าจะไม่เดินทางไปต่างประเทศ เช่น นายคำนูณ สิทธิสมาน นายเสรี สุวรรณภานนท์ รวมถึงตนเองด้วย และก็ทราบว่ามีคณะกรรมาธิการบางคณะที่ขอสละสิทธิการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณให้กับประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวิปวุฒิสภาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ได้มีมติ 1.หลักเกณฑ์และแนวทางเกี่ยวกับกรณีการเดินทางไปราชการต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ ดังนี้

1.1 การเดินทางไปราชการต่างประเทศของกมธ.สามัญประจำวุฒิสภา 26 คณะและคณะกรรมาธิการรติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดกำรปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทำงไปเยือน การศึกษาดูงานอันเกี่ยวกับภารกิจของคณะกรรมาธิการ การประชุมทวิภาคีพหุภาคี หรือการประชุมกับองค์กรระหว่าประเทศต่างๆ จะต้องมีหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการจากต่างประเทศ เช่น หนังสือเชิญจากรัฐสภาต่างประเทศ หน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรเอกชนต่างประเทศ เป็นต้น

1.2 การเดินทางไปราชการต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ ควรเดินทางไปในช่วงปิดสมัยประชุมเว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญ จะเดินทางในช่วงเปิดสมัยประชุมก็ได้ โดยหลีกเลี่ยงวันเดินทางมิให้ตรงกับวันประชุมวุฒิสภาและกรรมาธิการที่จะเดินทางนั้นควรพิจารณาจำนวนผู้เดินทางให้เหมาะสม เพื่อมิให้กระทบต่อองค์ประชุมวุฒิสภา

1.3 ในการเสนอเรื่องเพื่อขออนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการจะต้องดำเนินการจัดทำคำขออนุมัติการเดินทาง ประกอบด้วย การขออนุมัติตัวบุคคลและงบประมาณในการเดินทางพร้อมกำหนดการเดินทาง เสนอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนการเดินทาง ทั้งนี้ จะต้องจัดทำกำหนดการเดินทางให้มีวาระงานหรือภารกิจที่เป็นทางการทุกวัน ยกเว้นในวันเดินทางไปและวันเดินทางกลับ เช่น การประชุมทวิภาค การเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ การเข้าพบหารือกับเอกอัครราชทูต กำรศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายสรุปหรือการเจรจาในประเด็นต่างๆ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ เป็นต้น

1.4 ในการเสนอเรื่องเพื่อขออนุมัติการเดินทำงไปราชการต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ หากมีกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาผู้ใดมีความประสงค์หรือมีความจำเป็นที่ต้องเดินทำงไปก่อน หรือพำนักอยู่ประเทศนั้นต่อไปเพื่อกระทำภารกิจส่วนตัว โดยไม่เดินทางไปหรือกลับพร้อมคณะเดินทางหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตำมกำหนดการให้สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นดำเนินการด้วยตนเอง 2. แนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รายการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปไปราชการต่างประเทศของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาซึ่งมีงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร จำนวน 67,500,000 บาท โดยจัดสรรให้สมาชิกวุฒิสภาที่ดำรงตำแหน่งกมธ.เป็นรายบุคคลจำนวน 248 คน คนละ 270,000 บาท ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาสามารถเดินทางไปราชการต่างประเทศกับกมธ.ได้เพียงหนึ่งคณะเท่านั้น โดยให้แสดงความประสงค์ว่าจะเดินทางกับคณะใด ไปยังสำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้สานักการคลังฯ จัดสรรงบประมาณไว้สาหรับคณะกรรมาธิการดังกล่าว โดยเมื่อแสดงความประสงค์ไว้แล้วหากกมธ.ดังกล่าวมีการเดินทางหลายครั้ง สมาชิกจะเดินทางด้วยทุกครั้งหรือไม่ก็ได้ แต่หากสมาชิกท่านใดแสดงความประสงค์ว่าจะไม่เดินทาง ไม่ว่ากับคณะกรรมาธิการที่สมาชิกท่านนั้นสังกัดอยู่คณะใด สำนักการคลังฯ ก็จะไม่จัดสรรงบประมาณการเดินทางไปราชการต่างประเทศในส่วนของสมาชิกท่านนั้น ให้แก่คณะกรรมาธิการที่สมาชิกท่านนั้นสังกัดอยู่ ทั้งนี้ หากคณะกรรมาธิการคณะใดประสงค์ให้มีข้าราชการหรือพนักงานราชการ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการร่วมเดินทางด้วยขอให้จัดสรรงบประมาณจากงบประมาณที่กรรมาธิการในคณะได้รับ

3. แนวทางการประสานงานและจัดทำหนังสือเดินทางราชการและวีซ่าสาหรับการเดินทางไปราชการต่างประเทศของกมธ.สามัญประจาวุฒิสภา 3.1 การนัดหมายกับบุคคลหรือหน่วยงานต่างประเทศ กรณีที่กมธ.มีความประสงค์ให้สำนักการต่างประเทศประสานงานในการนัดหมายกับหน่วยงานต่างประเทศ (ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ) ขอให้มีบันทึกแจ้งสำนักการต่างประเทศและนำส่งข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน ล่วงหน้าอย่างน้อย 30-45 วันก่อนการเดินทาง โดยแนบเอกสารแสดงประวัติย่อของหัวหน้าคณะ รายนามคณะ กำหนดการ โดยระบุเที่ยวบินและเวลาเดินทางไป – กลับ และชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ประสงค์จะไปพบปะหารือ ศึกษาดูงานและหัวข้อการบรรยายสรุป 3.2 การจัดทำหนังสือเดินทางราชการและการตรวจลงตราหนังสือเดินทางราชการ (visa) 3.2.1 หนังสือเดินทางราชการ การเดินทางไปราชการต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางราชการ จะต้องมีอายุมากกว่า 6 เดือนนับจากวันออกเดินทาง ขอให้สมาชิกวุฒิสภาที่ประสงค์ทำหนังสือเดินทาวราชการใหม่แจ้งความประสงค์ให้สำนักการต่างประเทศทราบภายในวันพุธที่ 29 ม.ค. 2563 3.2.2 การตรวจลงตราหนังสือเดินทางราชการ (visa) หากกมธ.มีกำหนดจะเดินทางไปราชการ ณ ประเทศที่ไม่อยู่ในรายชื่อประเทศที่ได้รับกำรยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางราชการ จะต้องดำเนินการขอตรวจลงตรา (visa) โดยขอให้แจ้งให้สำนักการต่างประเทศทราบล่วงหน้ำอย่างน้อย 2 เดือนก่อนการเดินทางเพื่อตรวจสอบข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นขอตรวจลงตรากับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศและดำเนินการขอลงตรากับกรมการกงสุล กระทรวงกำรต่ำงประเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ตำมลำดับ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตรวจลงตราแตกต่างกัน อนึ่ง งบประมาณในกำรเดินทำงไปราชการต่างประเทศ จะสามารถเบิกจ่ายได้เมื่อพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับ