สมคิดปลื้มจีน-ฮ่องกงเลือกไทยฐานผลิต เอ็มโอยูร่วม 2 ฉบับ

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่นครกว่างโจว ประเทศจีน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการเดินทางมาจีนครั้งนี้ เพื่อต่อยอด เชื่อมโยงและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ของไทย กับเขตเศรษฐกิจพิเศษGreater Bay Area(GBA) มณฑลกวางตุ้งและ เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ซึ่งก่อนหน้าที่มีการติดต่อหารือในหลายระดับและหลายหน่วยงาน โดยเป้าหมายต้องการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้าใจ ต้องการสร้างสตาร์ตอัพ ซึ่งไม่ใข่แค่ไทยคู่แข่งไทย เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เพื่อมาชักชวนการลงทุนในจีนถี่ขึ้น ทั้งนี้ในวันที่ 22 ตุลาคม ได้พบกับบริษัท Primax บริษัทไต้หวัน ชำนาญด้านเทคโนโลยีเสียง มีฐานผลิตในกวางตุ้ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า (เทรดวอร์) จึงได้สำรวจการย้ายฐานใน 8 ประเทศ สุดท้ายเหลือไทยกับเวียดนาม ซึ่งมีความเป็นไปได้มาประเทศไทย ทั้งสร้างโรงงาน ดึงซัพพลายเชน โดยระบุให้เขาเห็นว่าไทยพร้อมทั้งด้านบุคคลากร สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ และทำเลที่ตั้งอยู่กลางกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที รวมถึงนโยบายด้านต่างๆเอื้อต่อการลงทุนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งกำลังเข้าบอร์ดบีโอไอในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ยังได้พบกับบริษัท Quantum Hi-Tech(china)(Biological อุตสาหกรรมชีวภาพ แปลงน้ำตาลเป็นยารักษาเบาหวาน เป็นต้น ก็จะเข้าลงทุนในไทยด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรแปรรูปของไทย

นายสมคิด กล่าวว่า ยังได้คุยกับผู้บริหารหัวเว่ย เห็นร่วมกันว่าเกิด 5จีต้องเร็ว ได้ข่าวว่ามาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กำลังชิงเกิดปีหน้า เพื่อจูงใจให้หัวเว่ยเข้าลงทุน อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสท.)ให้เปิดประมูล5จี ภายในกลางปีหน้า ดังนั้นในเวลานี้ให้เตรียมความพร้อม เพราะเทคโนโลยี 5 จี จะเป็นธุรกิจที่เปลี่ยนอุตสาหกรรมไปเลย

“ยังไงก็ต้องประมูล 5จี ส่วนเรื่องคอร์ส(เงินลงทุน)นั้น อยากให้มองราคาไม่ใช่ตัวตัดสินใจ แต่ต้องมองเรื่องการบริการให้ประเทศให้ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ อย่ามองเรื่องเงินประมูลเท่าประโยชน์ ทราบมาว่าขณะนี้นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้มาคุยกับหัวเว่ยแล้ว “นายสมคิดกล่าว

นายสมคิด กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้ยังได้มีการลงนามระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และบริษัทหัวเว่ย เกี่ยวกับเรื่องการอบรมบ่มเพาะกำลังคนด้านดิจิทัลของไทย เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืน ทั้งนี้ หัวเว่ยจะเข้ามาช่วยไทยสร้างบุคคล ซึ่งในวันที่ 28 ตุลาคม จะไปร่วมประชุมกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กับมหาวิยาลัย และภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางในการผลักดันนวัตกรรม และรองรับ 5 จีในอนาคต

” 2 วันที่พบปะบริษัท 4-5 แห่ง ก็เห็นว่า 2-3 รายกำลังเข้าลงทุนในไทย มูลค่าลงทุนก็ 5-7 พันล้านแล้ว แต่ก็ไม่อยากให้มองหรือให้ความสำคัญกับตัวเลขลงทุนอย่างเดียว อยากให้เห็นประโยชน์ที่ไทยได้รับ ซึ่งต้องยอมรับว่าการส่งออกมีปัญหาจากปัจจัยภายนอก ดังนี้สิ่งที่เรากำลังทำในวันนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถ “นายสมคิดกล่าว

นายสมคิด กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ยังได้หารือกับ Mr.Li Xi เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มณฑลกวางตุ้ง และเป็นสักขีพยาน การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมระหว่าง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี กับ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ส่วนช่วงบ่ายเดินไปพบนายกเทศมนตรีเซินเจิ้น และเข้าพบผู้บริหารหัวเว่ยเมืองเซินเจิ้น ในช่วงเย็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสาระสำคัญการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมระหว่าง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี กับ รัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ในการดำเนินความร่วมมือระหว่างเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hongkong-Macao Greater Bay Area:GBA) กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างเท่าเทียมกันและได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย มณฑลกวางตุ้งและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจึงร่วมกันจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 ประเด็นคือ 1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้งและ EEC เพื่อส่งเสริมการลงทุน ความเชื่อโยงด้านต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวางแผนการพัฒนา การบริหารจัดการ และในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่าง GBA และ EEC อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road และนโยบาย Thailand 4.0 โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกันและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือในด้านที่สำคัญต่อการพัฒนา อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เมืองอัจฉริยะ อุตสหากรรมการผลิต 4.0 อุตสาหกรรมการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทักษะแรงงาน ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนการลงนามระหว่างสวทช.,สนช.และบริษัทหัวเว่ย (Huawei) นั้นประกอบด้วย 3 ประเด็นคือ 1.ร่วมพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมด้าน ICT เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย บริษัท และสตาร์ทอัพ 2.สร้างฐานองค์ความรู้และ platform สำหรับประเทศไทยเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของความต้องการของเศรษฐกิจดิจิทัลในไทยและระดับสากล 3.โปรโมทรูปแบบความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างหัวเว่ย และหน่วยงานต่างๆ ผ่าน platform ของหัวเว่ย (Huawei Academy) 4.ร่วมพัฒนาความรู้ความสามารถในด้าน ICT สกิลทางดิจิทัล และการอบรมด้านนวัตกรรม ที่จะเพิ่มโอกาสให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ สตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการ เช่น ความรู้ด้าน Big Data, AI, IoT, 5G, ระบบCloud 5.หัวเว่ยจะจัดทำการอบรมและประกาศนียบัตรรับรอง สำหรับอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมทั้งบริษัทและสตาร์ทอัพ เพื่อฟูมฟักกำลังคนด้าน ICT ผ่านหลักสูตรของหัวเว่ย 6.ส่งเสริมกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไทยและหัวเว่ยเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน 7.ร่วมกันจัดการเยี่ยมชม แลกเปลี่ยนบุคลากร รวมทั้งพัฒนาการอบรมทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงาน ในวันที่ 23 ตุลาคม นายสมคิด ร่วมงานนา “Strategic Partnership through the Belt and Road Initiative and the EEC”จัดโดยสกพอ. เพื่อเชิญชวนนักลงทุนจีนเข้าไทย และเดินทางเข้าเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เพื่อร่วมงานโรดโชว์และหารือบริษัทในฮ่องกงที่มีแผนลงทุนนอกจีนเพิ่มขึ้น