“7 พรรคฝ่ายค้าน” ฟ้องกลับ “กอ.รมน.” ยัน “นายกฯ” ลั่นเดินหน้ารณรงค์แก้รธน.ต่อ

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่กองปราบฯ ตัวแทน 7 พรรคการเมืองฝ่ายค้าน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพท.และที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายชัยเกษม นิติสิริ คณะกรรมการยุทธศาสตร์คณะกรรมการยุทธศาสตร์ประธานด้านกระบวนการยุติธรรม และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐพรรคพท. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคพท. นายวันมูหะมัดนอน์ มะทา หัวหน้าพรรรประชาชาติ (ปช.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคปช. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ (พช.) นายนิคม บุญวิเศษ หัหน้าพรรคพลังปวงชนไทย พล.ท.พงศธร รอดชมพู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พล.ท.ภราดร พัฒนฐาบุตร อดีตเลขา สมช. และนายสมพงษ์ สระกวี ตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย (สร.) เดินทาง มาแจ้งความ กอ.รมน. ฐานใช้อำนาจหน้าที่ เกินขอบเขต และแจ้งความเท็จทำให้เกิดความเสียหาย

โดยนายสมพงษ์ อ่านแถลงการณ์ว่า พวกข้าพเจ้าเห็นว่า การจัดกิจกรรมดำเนินการเสวนาดังกล่าว เป็นการกระทำในฐานะพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกัน สาระและวัตถุประสงค์สำคัญคือ การรณรงค์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งแม้แต่รัฐบาลก็มีนโยบายนี้โดยบรรจุไว้เป็นนโยบายเร่งด่วน มีการอภิปรายพูดถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความมั่นคง และปัญหาอื่นๆ ที่ผ่านมาว่าล้มเหลว ปัญหาในอดีตยังสะสมวนเวียนอยู่ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน การกระทำของพวกข้าพเจ้า จึงเป็นการกระทำอันอยู่ในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รับฟังความเห็นการแสดงออกต่างๆ อันเป็นปกติธรรมดาของวงเสวนาทั่วไป หากจะมีการติชมใดๆ บ้างก็เป็นวิสัยปกติธรรมดาที่พึงกระทำได้ มิได้มีการบิดเบือน เสริมแต่งข้อเท็จจริงใดๆ มิได้มีการกระทำใดๆ อันมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร อันเป็นองค์ประกอบสำคัญตาม ป.อาญา มาตรา 116

นายสมพงษ์ กล่าวอีกว่า วันนี้พวกเราทั้งหลาย จึงขอใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหายซึ่งได้รับจากการร้องทุกข์กล่าวโทษพวกข้าพเจ้าดังกล่าว ร้องทุกข์กล่าวโทษเอากับพลโทพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 และพลตรีบุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า โดยขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่บุคคลทั้งสอง ผู้บังคับบัญชาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ในข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้อื่นเสียหาย แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาอันอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา เพื่อให้บุคคลได้รับโทษหรือได้รับโทษหนักขึ้นทางอาญา ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่จะทำให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งนี้โดยการโฆษณาตาม ป.อาญา มาตรา 137, 172, 174, 326 และมาตรา 328

ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า การที่ผู้แทนกอ.รมน.ภาค 4 ตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 116 นั้น ถือเป็นการกล่าวที่ละเมิดต่อสิ่งที่เรากระทำไป ทำให้พวกเราได้รับความเดือดร้อน และอาจทำให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปหวั่นวิตกว่า การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตภายใต้รัฐธรรมนูญอาจจะมีความผิด ถือเป็นการปิดปากประชาชนซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ และเราคิดว่า กอ.รมน.ที่มีนายกฯ เป็นผู้อำนวยการจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะ กอ.รมน.ภาค 4 จะกระทำเพียงลำพังไม่ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของนายกฯ ดังนั้นการยื่นแจ้งความวันนี้จะกล่าวโทษตั้งแต่ผู้ที่แจ้งความกล่าวหาเรา และอาจจะถึงผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องจะจต้องรับผิดชอบด้วย เพราะเราต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความเห็น

เมื่อถามว่า 7 พรรคฝ่ายค้านเคยแถลงว่าจะเปลี่ยนรูปแบบจากเวทีเสวนา เป็นเวทีปราศรัย แบบนี้จะทำให้มีความสุ่มเสี่ยงขึ้นหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เราต้องระมัดระวัง และไม่ได้คิดว่าจะทำอะไรให้ผิดกฎหมาย

ขณะที่นายสงคราม กล่าวว่า เรื่องการรณรงค์แก้ไขรัฐะรรมนูญนั้น เราจะดำเนินการต่อไป เพราะต้องไปพบกับทุกวิชาชีพ ทุกฝ่าย เพราะเป็นนโยบายร่วมกันของฝ่ายค้านและรับบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสภามติออกมาเป็นเอกฉันท์ที่เลื่อนญัติศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาเป็นลำดับแรกๆ ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่อ ทั้งนี้ ยืนยันว่าบนเวทีปราศรัยจะไม่มีการพูดสุ่มเสี่ยง เพราะเราพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า เราจะไม่แตะต้องหมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ

ด้านนายนิคม กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้นอกจากจะฟ้อง ผอ.กอ.รมน.แล้ว ยังจะฟ้องผู้บังคบบัญชา ซึ่งก็คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ด้วย เพราะถือว่าปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าการที่กอ.รมน.ฟ้อง 7 พรรคฝ่ายค้านครั้งนี้ เพราะต้องการความได้เปรียบทางการเมือง เนื่องจากไม่อยากให้ฝ่ายค้านขับเคลื่อนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะทราบว่าหลายองค์กรณ์ และทุกภาคส่วนตอบรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่กอ.รมน.กล่าวโทษ 7 พรรคฝ่ายค้าน ถือว่าเป็นการแจ้งความเท็จ ฝ่ายค้านจึงต้องมาแจ้งความกลับ ซึ่งตนจะแจ้งความในนามส่วนตัวด้วยในฐานะผู้ได้รับความเสียหาย โดยจะไปแจ้ง ป.ป.ช. และอัยการสูงสุดด้วย

ส่วนนายพงศกร กล่าวว่า ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคง เราต้องสื่อสารไปยังเจ้าหน้าที่ว่าเราผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว ควรกลับเข้าสู่ระบบ ดังนั้น สิ่งที่ต้องคุยกันต่อไปคืออำนาจของกอ.รมน. และคำสั่งของคสช.ที่ให้ทการมีอำนาจเหนือกระบวนการยุติธรรม รวมถึงกรณี ป.วิ อาญา ที่ต้องดำเนินการกับทุกคนที่จะต้องมีการประมวนข้อกฎหมายต่างๆให้ครบถ้วนก่อนจึงจะฟ้องได้ ดังนั้น ทางกมธ. จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกันเพื่อปรับขั้นตอน และกระบวนการต่างๆให้เป้นประชาธิปไตยต่อไป