‘จุรินทร์’ มอบ 10 นโยบายลุยงานพาณิชย์ผ่านงบหมื่นล้านบาท ลุยประกันรายได้-ส่งออก-เศรษฐกิจทันสมัย

ที่กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวภายหลังการประชุมมอบนโยบายให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ โดยเปิดโอกาสให้แต่ละกรมนำเสนอและรายงานแนวทางที่จะดำเนินการ จึงใช้เวลาในการประชุมกว่า 3 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมได้มีการกำหนดทิศทางการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ ตามนโยบาย 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.ผลักดันการประกันรายได้เกษตรกร นำร่องพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อกระตุ้นราคาสินค้าเกษตรในภาพรวม ขณะเดียวกันให้ยึดการทำงานเชิงรุก จัดทำแผนแก้ปัญหาล่วงหน้าพืชเกษตรทุกชนิดโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาแล้วมาแก้ไขที่หลัง ที่มีปฏิทินพืชผลการเกษตรอยู่แล้วและใช้แผนเกษตรพันธสัญญาด้วย 2.กระทรวงจะเน้นดูแลราคาสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมผู้กับบประกอบการและผู้บริโภค

นายจุรินทร์กล่าวว่า 3.เร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการ โดยเน้นส่งออกพืชผลทางการเกษตร บริการสินค้า OTOP สินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ หมวดอื่นๆ โดยมีการทำยุทธศาสตร์รักษาตลาดเดิมและขยายตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่าจากที่เคยอุปสรรคจากสถานการณ์ในต่างประเทศ และ เพิ่มมูลค่าการส่งออกการค้าชายแดนและข้ามแดน โดยมีการประชุมนัดแรกระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนและกลุ่มส่งออก หรือ กรอ.พาณิชย์ในวันที่ 14 สิงหาคม ที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อติดตามสถานการณ์และทบทวนเป้าหมายการส่งออกปี 2562 ว่าจะยังคง 3% หรือปรับลดหรือไม่

นายจุรินทร์กล่าวว่า จะเร่งรัดการเจรจาค้างท่อ เช่น  กรอบความร่วมมืออาเซียนกับ 6 ประเทศ (RCEP) ที่มีเป้าหมายดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ การดำเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้า (เอฟทีเอ) ต่างๆ เช่น  ไทย-ตุรกี ไทย-ศรีลังกา ไทย-ปากีสถาน ไทย-อังกฤษ และไทย-อียู   รวมถึงเร่งหาเร่งหาข้อสรุปของข้อตกลงความชอบความครอบคลุมและความก้าวหน้าและความก้าวหน้าเรื่องหุ้นส่วนทางการค้าภาพภาพพื้นเอเชียแปซิฟิกหรือ ซีพีทีพีพี  5.เดินหน้าระบบ e-filing เพื่อให้การจดทะเบียนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบริหารของกระทรวง ยึดหลักง่าย สะดวก รวดเร็ว กับทั้งผู้เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการ ทั้งในเรื่อง นิติบุคคล ผู้ใช้บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา เอกสารการค้าระหว่างประเทศ 6.เร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อเพิ่มสินค้าและบริการ โดยจัดให้มีโมบายเคลื่อนที่ทรัพย์สินทางปัญญาให้ความรู้ และจดทะเบียนในพื้นที่ต่างๆระดับชุมชน

นายจุรินทร์กล่าวว่า 7.กระทรวงจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจทันสมัยหรือเศรษฐกิจยุคใหม่ อาทิ ไบโออีโคโนมี่ ครีเอทีฟอีโคโนมี่ การค้าออนไลน์ เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัพ  เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เป็นต้น เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  8.ฟื้นช่วยโชวห่วย ให้เป็นกลไกสำคัญต่อเศรษฐกิจ ฐานรากของประเทศ โดยจะดำเนินการให้ปรับรูปแบบเป็นสมาร์ทโชวห่วย  ควบคู่กับร้านธงฟ้า โดยเป้าหมายยกระดับเป็นร้านคอนวีเนียนสโตร์  9.ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจภาคบริการ ให้แข่งขันได้ เช่น ร้านอาหาร  ธุรกิจสปา ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุ ภาพยนตร์ เพื่อเพิ่มรายได้ในประเทศและส่งออก

นายจุรินทร์กล่าววว่า 10.โดยจะใช้ 4 กลไกขับเคลื่อนให้นโยบายเดินหน้า ได้แก่ 1. นัดประชุมภายในกระทรวงอย่างน้อยเดือน 1 ครั้งเพื่อติดตามงานคืบหน้า 2.กลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐกับเอกชนโดยกระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ที่จะครอบคลุมทั้งการส่งออก และความคุ้มครองผู้บริโภค  3.ใช้กลไก 3 ประสานประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อดูแลเรื่องการเกษตร และให้เกษตรกรมีเวทีร่วมกันในการตัดสินใจ และ 4.ทูตพาณิชย์ต้องเป็นมืออาชีพเพื่อเป็นทัพหน้าสำคัญให้ภาคเอกชนนำรายได้จากการส่งออกเป็นสำคัญ รวมถึงพาณิชย์จังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

“กลไก 3 ประสานแรกจะเริ่มนัดประชุมครั้งแรกกับการกำหนดประกันรายได้สินค้าปาล์มน้ำมันที่จะประชุมบ่ายของวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อกำหนดกรอบ เงื่อนไข และเป้าหมายให้การช่วยเหลือ ซึ่งจะมีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมายจำนวนหรือพื้นที่ช่วยเหลือชาวสวน การกำหนดราคารับประกัน ราคาเป้าหมาย จากนั้นจะเข้าหารือและขออนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ในการประกันรายได้ต่อคณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จากนั้นในวันที่ 9 สิงหาคมก็จะเป็นประชุม 3 ประสานในกลุ่มยางพารา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะมีส่วนช่วยเหลือเรื่องการผลักดันการส่งออก จากนั้นก็จะเรียกประชุมพืชที่เหลือให้ครบ เพื่อให้คณะกรรมการชุดใหญ่และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อให้เกิดทางปฎิบัติ  ตอนนี้คงไม่อาจระบุได้ว่าราคาประกันจะเป็นไหร่ หรือเท่ากับหรือสูงกว่าที่หาเสียงก่อนเลือกตั้งแค่ไหน คงต้องหารือกับทุกฝ่ายก่อน “ นายจุรินทร์กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมกระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันต่อสำนักงบประมาณที่เข้าร่วมประชุมว่ายังคงของบประมาณ 10,000 ล้านบาท และยังไม่รวมกับนโยบายประกันรายได้พืช 4 ชนิดที่กระทรวงพาณิชย์ คือ ปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะนำเสนอแนวทางและงบประมาณที่จะดำเนินการ โดยจะหารือให้ได้ข้อสรุปทั้งพืช 4 ชนิด เบื้องต้นแต่ละพืชจะใช้งบประมาณเกิน 10,000 ล้านบาท