WHO ประกาศภาวะฉุกเฉินโลก อีโบล่าระบาดหนักในคองโก ดับเกือบ 1,700 ราย

วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศต่อการระบาดของเชื้ออีโบล่าในประเทศคองโก นับเป็นเตือนครั้งใหญ่ไม่กี่ครั้งหลังเชื้อไวรัสได้ระบาดเข้าสู่เมืองสำคัญในคองโกและลุกลามเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านแล้ว

รายงานระบุว่า คณะกรรมการได้กังวลว่าเป็นปีของภาวะแพร่ระบาด มีสัญญาณความกังวลถึงความเป็นไปได้ของการแพร่ระบาดที่ขยายตัว

นายปีเตอร์ ปีออต สมาชิกทีมค้นพบเชื้ออีโบล่าและผู้อำนวยวิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนลอนดอน กล่าวว่า การระบาดได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่มีสัญญาณที่จะกลับเข้าสู่ภาวะควมคุมได้ และหวังว่าการตัดสินใจในวันนี้ เพื่อกระตุ้นการดำเนินการทางการเมืองระดับสูงการประสานงานที่ดีขึ้นและการระดมทุนมากขึ้นเพื่อสนับสนุน DRC ในความพยายามที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้

ด้านนายโรเบิร์ต สเตฟเฟน ประธานคณะกรรมการของอนามัยโลกผู้แสดงจุดยืนต่อการลุกลามของเชื้อไวรัสนี้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ได้กล่าวว่า การแพร่ระบาดยังคงเป็นภัยคุกคามระดับภูมิภาคมากกว่าระดับโลกและวิตกว่าไม่มีประเทศใดรับมือกับการแพร่ระบาดด้วยการปิดชายแดนหรือระงับการค้า

พร้อมกับเตือนว่า ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ รวันดา,ซูดานใต้,บูรันดีและยูกันดา เสี่ยงมากที่สุด ตามด้วย สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, แองโกล่า,แทนซาเนีย,สาธารณรัฐคองโกและแซมเบีย จัดอยู่ในระดับ 2

ก่อนหน้านี้ อนามัยโลกได้กล่าวว่า ต้องการเงินจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯอย่างเร่งด่วนเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดที่กำลังหลุดจากการควบคุมและสูญเสียชีวิตและเม็ดเงินมหาศาล

อย่างไรก็ตาม นายเท็ดรอส แอดฮานอม กีบรีเยซุส อธิบดีองค์การอนามัยโลก มองเมืองโกม่าในคองโกเป็นจุดเปลี่ยนเกมส์สำคัญ และระบุว่า การกำหนดการระบาดเป็นภาวะฉุกเฉินนี้ไม่ได้แปลว่าสนับสนุนให้บางประเทศระงับเงินทุนและควรปลดล็อกด้วย

อีกความสำคัญคือ การเร่งผลิตวัคซีนซึ่งตอนนี้กำลังขาดแคลน และถูกผลิตโดยบริษัทเมอร์คของเยอรมนีที่วัคซีนยังไม่ขึ้นทะเบียนและถูกใช้ในการทดสอบทางคลินิก โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขคองโก

ทั้งนี้ แม้จะมีวัคซีนที่ทรงประสิทธิภาพและการตอบสนองจากนานาชาติอย่างรวดเร็ว หลังประกาศออกไป 11 เดือนก่อน แต่การระบาดนี้ได้พิสูจน์แล้วถึงภาวะยืดเยื้อในความไร้เสถียรภาพของภูมิภาคที่ติดอยู่กับความรุนแรง ทำให้สถานการณ์คองโกเลวร้ายกว่าเดิมและมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสเกือบ 1,700 ราย

และเมื่อเดือนก่อน มีบาทหลวงเสียชีวิตหลังเดินทางไปเมืองโกม่า อีกทั้งเมื่อวานนี้ อนามัยโลกรายงานชาวประมงรายหนึ่งได้เสียชีวิตลงมีอาการอาเจียนหนัก 4 ครั้งกลางตลาดในอูกันดา ซึ่งประชาชนในบริเวณดังกล่าว 590 คน ต้องการวัคซีน