‘หมอธีระวัฒน์’ ขอร้อง ‘อย.-ป.ป.ส.’ อย่าเดินถอยหลังประเด็น ‘กัญชา’ นับหนึ่งใหม่ไม่ได้

เมื่อวันที่ 23 เมษายน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยระบุว่า

จะเป็นประเทศไทย 4.0 ต้อง concise precise prioritize กระชับ ชัดเจน เป้าหมายเคลียร์ และ action อย่างไม่เงอะงะ

ความสะอาดของกัญชาเป็นเรื่องต้องทำ
คิดจะวิจัยเรื่องกัญชาทางการแพทย์
ขอร้องอย่าเริ่มนับหนึ่งทำเป็นไม่เคยใช้มาก่อนหรือ?
กัญชาในทางการรักษาความเจ็บป่วย หลักฐานต่างๆและที่ประจักษ์ในประเทศไทยมีอยู่แล้ว ไม่รวมต่างประเทศจะทำวิจัยต้องเป็นการวิจัยต่อยอดเท่านั้น

ขอร้อง เพราะ อย. และ ป.ป.ส ทำให้เดินถอยหลังไปเยอะแล้ว อย่าถอยหลังไปอีก

การวิจัย ต่อยอด คือ ค้นหาให้ได้ว่ามีอะไรพิเศษในพืชกัญชาที่มาจากบางแหล่งที่มีส่วนผสมหรือมีสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป และได้ผลในทางได้ประโยชน์มากกว่าที่เคยคาดคิดกันไว้ ซึ่งในต่างประเทศมีระบุสายพันธุ์อยู่แล้ว แต่รายละเอียดของสารออกฤทธิ์ ที่มากกว่าที่รู้กันสามารถวิเคราะห์ให้ได้ลึกซึ้งด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนั้น การตอบสนองของผู้ป่วยต่อสารประกอบพิเศษเหล่านั้น สามารถติดตามได้จากการวิเคราะห์ในระดับยีนส์ และ การศีกษาโอมิค ทั้งหลาย อีกทั้งในเรื่องสมองสามารถทำการติดตามการทำงานเชื่อมใยของเส้นประสาท จากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งได้ว่าดีขึ้นหรือเร็วลงและยังสามารถตรวจสอบการทำงานของสมองการใช้พลังงานรวมทั้งการหาดัชนีชีวภาพ biomarker ต่างๆ และปริมาณการสะสมของสารโปรตีนบิดเกลียวที่ก่อให้เกิดโรค และปริมาณค่าของความเสียหายของเนื้อสมอง

แต่ถ้าขี้เกียจหา ซึ่งหมอก็นึกอยู่เหมือนกันว่าจำเป็นที่ต้องหาหรือไม่ เพราะที่กล่าวข้างต้นก็คือสิ่งที่ทำมาทั้งชีวิต action เลยดีกว่า

สรุปๆๆๆๆ
เรื่องอื่นๆที่ทราบกันอยู่แล้วไม่ ต้องมานั่งเสียเวลา
สิ่งที่ต้องจัดการ คือ
เรื่องความสะอาดของกัญชาที่ใช้ปราศจากสารเคมีฆ่าหญ้า แมลง ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก
นอกจากนั้นคือเรื่องความร่วมมือประสานกันของบนดินและใต้ดิน บนดินคือ แพทย์แผนปัจจุบันมีความรู้ในการวินิจฉัยและระบุโรคได้อย่างชัดเจนและการรักษาแผนปัจจุบันและยังรู้ข้อจำกัดของการรักษาแผนปัจจุบันแต่ใช้กัญชาไม่เป็น 

ผู้รู้ในใต้ดินแม้ไม่มีดีกรี(ซึ่งไม่มีความจำเป็น) และไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปสอบให้เป็นหมอพื้นบ้าน เมื่อมีความรู้อยู่แล้ว
เราจะเอาดีกรีเอากระดาษหรือเอาความรู้ประสบการณ์ (ความโ..ของคนไทยอีกอย่างที่เอาดีกรีเป็นตัวตั้ง)
เมื่อมีความรู้และประสบการณ์ในการใช้การสกัด การสังเกตติดตามก็สามารถสอนแพทย์แผนปัจจุบันในเรื่องเหล่านี้ได้

ทั้งสองแผ่นดินเรียนรู้ซึ่งกันและกันประโยชน์ที่ได้รับคือผู้ป่วยได้เต็มๆ และผู้ป่วยไม่เสียโอกาสในการรักษาจากแผนปัจจุบันและยังสามารถเพิ่มประโยชน์ได้เต็มจากกัญชาและสมุนไพรอื่นๆ

จะเป็นประเทศไทย 4.0 ต้อง concise prioritize และ action อย่างไม่เงอะงะ