เปิดโพลสำรวจ ฟันธง ‘บิ๊กตู่-ประชารัฐ’ นำห่าง ลิ่วนายกฯ ชี้ 4 ปัจจัยพรรคทักษิณตกต่ำเสื่อมโทรม

ผลการสำรวจคะแนนนิยม ของประชาชนว่าอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

 

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้อำนวยการโครงการสำรวจความนิยมของนักการเมืองที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

วิทยาลัยฯ ได้ทำการรวบรวมประชากรครั้งละ 8,000 ตัวอย่างใน 350 เขตเลือกตั้งใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ตามโครงสร้างของประชากรไทยในปัจจุบันคือ ภาค อาชีพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฯลฯ ด้วยระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 90% การสำรวจดำเนินการมาแล้ว 4 ครั้ง

คือ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ผลการสำรวจพบว่า ผู้ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนทั่วประเทศมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 29.34% 2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 26.24% 3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.74% 4) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 10.61% และ 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 4.54% และอื่นๆ ที่เหลือ 4.53%     (ดูตารางที่ 1)

การสำรวจครั้งที่ 2 วันที่ 13 มิถุนายน 2561 พบว่า คะแนนนิยมของประชาชนทั่วประเทศที่อยากได้คนเป็นนายกรัฐมนตรี เรียงตามลำดับดังนี้คือ 1) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 19.34% 2) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 17.31% 3) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 8.93% 4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 5.68% 5) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 4.36% และ 6) อื่นๆ ที่เหลือ 37.61% (ดูตารางที่ 2)

ผลการสำรวจครั้งที่ 3 วันที่ 15 ตุลาคม 2561 คะแนนนิยมผู้ที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 19.62% 2) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 16.91% 3) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 16.43% 4) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 14.42% 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 3.52% และ       6) อื่นๆ ที่เหลือ 29.10% (ดูตารางที่ 3)

ผลการสำรวจครั้งที่ 4 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 คะแนนนิยมผู้ที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 27.06% 2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 18.16% 3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 15.55%  4) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 9.68% 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 2.26% และ 6) อื่นๆ ที่เหลือ 27.30% (ดูตารางที่ 4)

ตารางที่ 1 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค ครั้งที่ 1 (1 พฤษภาคม 2561)

 

ภาค ผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นาสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอนุทิน ชาญวีรกุล อื่นๆ รวม
กรุงเทพมหานคร 20.08% 26.12% 23.25% 14.40% 8.25% 7.90% 100%
ภาคกลาง 43.28% 20.68% 20.35% 11.62% 3.63% 0.44% 100%
ภาคเหนือตอนบน 55.62% 16.71% 11.32% 7.18% 3.37% 5.80% 100%
ภาคเหนือตอนล่าง 26.70% 29.95% 22.50% 10.97% 4.83% 5.05% 100%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 29.68% 31.23% 20.85% 10.96% 4.62% 2.66% 100%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 21.21% 39.51% 16.15% 11.64% 5.56% 5.93% 100%
ภาคตะวันออก 24.02% 25.04% 29.15% 12.48% 4.07% 5.24% 100%
ภาคตะวันตก 33.90% 16.30% 29.82% 12.77% 4.02% 3.19% 100%
ภาคใต้ตอนบน 23.42% 10.03% 57.74% 4.07% 1.37% 3.37% 100%
ภาคใต้ตอนล่าง 8.73% 44.00% 22.23% 10.91% 6.86% 7.27% 100%
รวม 29.34% 26.24% 24.74% 10.61% 4.54% 4.53% 100%

 

หมายเหตุ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เพิ่งเริ่มตั้งพรรคการเมือง จึงยังไม่มีผู้รู้จัก

 

ตารางที่ 2 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค ครั้งที่ 2 (13 มิถุนายน 2561)

 

 

ภาค

ท่านสนับสนุนใครให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
คุณหญิง

สุดารัตน์

เกยุราพันธุ์

นายอนุทิน ชาญวีรกุล นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อื่นๆ รวม
กรุงเทพมหานคร 6.80% 6.57% 18.28% 24.20% 20.72% 18.88% 100.00%
ภาคกลาง 9.56% 7.94% 2.47% 10.81% 20.97% 41.63% 100.00%
ภาคเหนือตอนบน 11.12% 1.78% 1.88% 13.32% 17.04% 50.70% 100.00%
ภาคเหนือตอนล่าง 9.00% 4.20% 2.83% 23.85% 14.93% 33.34% 100.00%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 12.96% 2.26% 2.41% 12.15% 15.15% 40.74% 100.00%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 11.06% 8.47% 4.53% 16.26% 14.71% 38.87% 100.00%
ภาคตะวันออก 9.65% 6.35% 2.94% 20.80% 22.28% 36.67% 100.00%
ภาคตะวันตก 5.57% 10.02% 2.08% 19.20% 21.20% 31.65% 100.00%
ภาคใต้ตอนบน 2.87% 1.93% 2.05% 39.39% 12.97% 40.79% 100.00%
ภาคใต้ตอนล่าง 3.91% 8.41% 8.68% 23.91% 21.86% 31.64% 100.00%
รวม 8.93% 5.68% 4.36% 19.34% 17.31% 37.61% 100.00%

 

 

ตารางที่ 3 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค ครั้งที่ 3 (15 ตุลาคม 2561)

 

ภาค

ท่านอยากสนับสนุนให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
คุณหญิง

สุดารัตน์

เกยุราพันธุ์

นายธนาธร

จึงรุ่งเรืองกิจ

นายอนุทิน ชาญวีรกุล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อื่นๆ รวม
กรุงเทพมหานคร 16.38% 11.47% 3.40% 18.40% 20.33% 30.02% 100.00%
ภาคกลาง 11.66% 14.31% 5.72% 10.74% 25.19% 32.38% 100.00%
ภาคเหนือตอนบน 17.95% 15.52% 1.97% 11.45% 22.08% 31.03% 100.00%
ภาคเหนือตอนล่าง 17.47% 11.70% 1.85% 24.15% 15.73% 29.11% 100.00%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 12.80% 14.65% 7.20% 2.88% 20.73% 41.74% 100.00%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 19.59% 18.33% 3.83% 5.59% 21.44% 31.23% 100.00%
ภาคตะวันออก 18.13% 19.20% 2.91% 15.96% 15.59% 28.20% 100.00%
ภาคตะวันตก 25.13% 15.60% 2.75% 19.53% 21.25% 15.73% 100.00%
ภาคใต้ตอนบน 8.78% 8.62% 1.04% 49.64% 14.53% 17.39% 100.00%
ภาคใต้ตอนล่าง 17.55% 7.23% 1.23% 38.27% 11.91% 23.82% 100.00%
รวม 16.43% 14.42% 3.52% 16.91% 19.62% 29.10% 100.00%

 

 

ตารางที่ 4 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค ครั้งที่ 4 (24 พฤศจิกายน 2561)

 

ภาค

ท่านสนับสนุนใครให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง รวม
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ นายธนธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อื่นๆ
กรุงเทพมหานคร 31.33% 21.23% 4.53% 0.27% 31.03% 11.60% 100.00%
ภาคกลาง 29.08% 15.98% 8.98% 3.08% 13.88% 28.99% 100.00%
ภาคเหนือ 26.63% 21.85% 9.36% 2.41% 13.17% 26.59% 100.00%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.76% 17.65% 10.79% 2.28% 10.42% 33.10% 100.00%
ภาคใต้ 24.44% 16.70% 11.82% 1.76% 24.17% 21.11% 100.00%
รวม 27.06% 18.16% 9.68% 2.26% 15.55% 27.30% 100.00%

 

จากผลการสำรวจทั้ง 4 ครั้งแสดงให้เห็นว่า พรรคของนายทักษิณ ชินวัตร (ไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทย) มาถึงจุดที่กำลังตกต่ำเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้คือ ประการแรก ในระยะเริ่มต้นของการต่อตั้งพรรคไทยรักไทย พรรคนี้เคยมีผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์สูง (กลุ่มเอ็นจีโอ) ในการทำงานกับประชาชนระดับล่างทั่วประเทศ พวกเขาช่วยรวบรวมปัญหาต่างๆ ของคนระดับรากหญ้าขึ้นมาจนช่วยให้พรรคไทยรักไทยสามารถนำเสนอนโยบายและวาทกรรมที่สำคัญ 2 เรื่องคือ 1) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคและ      2) นโยบายกองทุนหมู่บ้านที่สามารถเอาชนะพรรคการเมืองทุกพรรคมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเอ็นจีโอส่วนใหญ่กลับยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามพรรคเพื่อไทย ประการที่สอง พรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยเคยเป็นผู้นำในการนำระบบการสื่อสารที่ก้าวหน้ากว่าและทันสมัยกว่าในการเอาชนะพรรคคู่แข่ง แต่ในขณะนี้พรรคการเมืองอื่นๆ สามารถนำเอาเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ (Social Media) เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม และไลน์ ฯลฯ มาสื่อสารกับประชาชนได้ไม่แตกต่างจากพรรคเพื่อไทย ทำให้ความได้เปรียบในเรื่องนี้หมดไปประการที่สาม พรรคไทยรักไทยเคยมีนักวิชาการ นักคิดและนักยุทธศาสตร์ที่ทำให้พรรคนี้มีแนวความคิดและนโยบายที่ท้าทายยิ่งกว่าพรรคการเมืองทุกพรรค แต่ทุกวันนี้พรรคเพื่อไทยขาดบุคลากรเหล่านี้ ทำให้พรรคขาดความสามารถในการสร้างนโยบายการเงินการคลังที่เป็นประโยชน์แก่คนในสังคมส่วนใหญ่ได้ หลังจากที่นโยบายจำนำข้าวและนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาทต่อวันก่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างร้ายแรง และติดตามมาด้วยการพบว่ามีการทุจริตอย่างรุนแรงเรื่องนโยบายจำนำข้าว คนชั้นกลางจำนวนมากได้หมดความเชื่อถือต่อพรรคเพื่อไทยไป ประการที่สี่ พรรคเพื่อไทยในขณะนี้ขาดผู้นำที่มีบารมีและมีภาวะผู้นำที่สูงมากพอที่จะรวบรวมสมาชิกจำนวนมากให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ภายในกลุ่มที่สนับสนุนนายทักษิณ ชินวัตรเกิดกลุ่มก๊กต่างๆ ที่มีแนวความคิดและการบริหารจัดการที่ยากจะร่วมงานกันได้อย่างราบรื่น และประการสุดท้าย การเกิดขึ้นของพรรคประชารัฐที่กำลังมีอำนาจทางการเมือง และมีนโยบายด้านมหภาคและจุลภาคต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายบัตรคนจนซึ่งมีขอบเขตการให้ประโยชน์แก่คนจนอย่างกว้างขว้าง โดยรวมเอานโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ผนวกรวมเข้ากับนโยบายอื่นๆ อีก เช่น เบี้ยคนชรา ค่าโดยสารสำหรับผู้ป่วยฯลฯ และพบว่าเป็นนโยบายที่เอาชนะใจกลุ่มคนจนจำนวน 11 ล้านคนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ผลการสำรวจเปรียบเทียบ

การวิจัยนี้ ดำเนินการโดยวิธีการเก็บข้อมูลแบบการสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยจำนวน 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 8,000 ตัวอย่างต่อครั้ง ผลนี้เป็นผลสำรวจครั้งที่ 1 (1 พฤษภาคม พ.ศ.2561) ครั้งที่ 2 (13 มิถุนายน พ.ศ.2561) ครั้งที่ 3 (15 ตุลาคม พ.ศ.2561) และครั้งที่ 4    (24 พฤศจิกายน พ.ศ.2561) ดังนี้

 

ตารางที่ 5 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค

 

 

ครั้งที่

ผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อื่นๆ รวม
1 (1 พฤษภาคม พ.ศ.2561) 29.34% 26.24% 24.74% 4.54% 0.00% 15.14% 100.00%
2 (13 มิถุนายน พ.ศ.2561) 17.31% 8.93% 19.34% 5.68% 4.36% 44.38% 100.00%
3 (15 ตุลาคม พ.ศ.2561) 19.62% 16.43% 16.91% 3.52% 14.42% 29.10% 100.00%
4 (24 พฤศจิกายน พ.ศ.2561) 27.06% 18.16% 15.55% 2.26% 9.68% 27.30% 100.00%

 

กราฟที่ 1 แสดงผู้ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง แยกตามภาค

 

ตารางที่ 6 แสดงถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ท่านจะเลือกท่านจะเลือกพรรคการเมืองใด แยกตามภาค

 

 

ครั้งที่

ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ท่านจะเลือกท่านจะเลือกพรรคการเมืองใด  รวม
พรรคพลังประชารัฐ พรรค

เพื่อไทย

พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคอนาคตใหม่ อื่นๆ
1 (1 พฤษภาคม พ.ศ.2561) 28.82% 30.48% 25.71% 11.31% 0.00% 3.68% 100.00%
2 (13 มิถุนายน พ.ศ.2561) 19.11% 37.94% 27.18% 5.60% 4.93% 5.24% 100.00%
3 (15 ตุลาคม พ.ศ.2561) 21.93% 28.32% 19.77% 3.54% 14.43% 12.01% 100.00%
4 (24 พฤศจิกายน พ.ศ.2561) 26.61% 23.64% 19.01% 2.50% 8.84% 19.40% 100.00%

 

 

กราฟที่ 2 แสดงถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ท่านจะเลือกท่านจะเลือกพรรคการเมืองใด แยกตามภาค