พฤษภาทมิฬ “สามัคคีธรรม” บันทึกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย พ.ศ.2535

สามัคคีธรรม 

ชื่อพรรคสามัคคีธรรมกลับมาปรากฏในวงสนทนาการเมืองอีกครั้ง เมื่อมีผู้ตั้งประเด็นเปรียบเทียบพรรคที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลหลังเหตุการณ์รัฐประหาร

พรรคสามัคคีธรรมมีชื่อบันทึกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ว่าก่อตั้งเมื่อต้นปีพ..2535 หลังเหตุการณ์รัฐประหารปี 2534

แม้ชื่อพรรคมีความหมายดี เหมาะแก่จังหวะของการฟื้นฟูประชาธิปไตย หลังเหตุการณ์ยึดอำนาจของกองทัพ อีกทั้งยังประกาศนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น อันเป็นแนวทางเดียวกันกับที่คณะรัฐประหาร ในนาม รสช. ใช้กล่าวอ้าง

แต่การรวมกลุ่มกันแบบหลวมๆ ของเหล่านักการเมืองและอดีตข้าราชการที่ต้องการสนับสนุนให้ รสช. มีอำนาจหน้าที่บริหารประเทศต่อนั้น เป็นบทเรียนที่ชัดเจนว่า พรรคการเมืองลักษณะนี้แม้มาเร็ว ขยายสมาชิกได้เร็ว แต่ก็จะไปเร็วเช่นกัน

พรรคสามัคคีธรรมปิดฉากกลางปี 2535 หลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง หรือพฤษภาทมิฬ ที่ประชาชนลุกฮือต่อต้านนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มาจากคณะรสช.

แรงต่อต้านดังกล่าวครอบคลุมถึงพรรคสามัคคี ธรรมด้วย แม้เป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง และเป็นแกนนำดึงพรรคอื่นๆ ร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ล้วนแสดงถึงการเตรียมสืบทอดอำนาจของรสช.

การล่มสลายของพรรคสามัคคีธรรมไม่มีกระแสเสียดายหรืออาลัยอาวรณ์ใดๆ สะท้อนว่าพรรคที่มาจากการจัดตั้งและอาศัยตัวบุคคลที่มีคะแนนเสียงในท้องถิ่น โดยไม่มีนโยบายทั้งทางการเมืองและการบริหารประเทศร่วมกันนั้น จะไม่อาจผูกมัดใจประชาชนส่วนใหญ่ไว้ได้

ยิ่งเมื่อเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับประชาธิปไตย ยิ่งทำให้จุดหมายลงเอยด้วยความล้มเหลว

การที่พรรคสามัคคีธรรมแสดงความล้มเหลวไว้อย่างเด่นชัด น่าจะเป็นบทเรียนให้แก่คณะหรือบุคคลในวงการการเมืองพึงระลึกและไตร่ตรองให้ดี

แม้ว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้ กับเมื่อปี 2534-2535 จะแตกต่างกันมาก ทั้งในส่วนการยื้อเวลาฟื้นฟูประชาธิปไตยที่ทอดยาวมานานถึง 4 ปี และความพยายามบริหารประเทศด้วยระบบราชการที่ไม่มี ผู้แทนประชาชน

บวกกับการหาเสียงที่พยายามโน้มน้าวว่าพรรค การเมืองใหม่จะดำรงสถานะเป็นกลาง ประนี ประนอมกับพรรคการเมืองอื่นๆ แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น

การกลับมาของพรรคสามัคคีธรรม ภาค 2 จึงมีความเสี่ยงที่จะซ้ำรอยความ ล้มเหลวเดิม