สบน.แจงหนี้รัฐบาลมีหนี้เพิ่มเพื่อลงทุน

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.ชี้แจงประเด็นข่าวในโลกออนไลน์ที่ระบุว่ารัฐบาลนี้มีหนี้สูงขึ้น ยอมรับว่าหนี้ของรัฐบาลนี้สูงขึ้นจริง แต่การเป็นหนี้สูงขึ้นเนื่องจากนำเงินมาลงทุน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นหนี้มีคุณภาพ ซึ่งการรัฐบาลกู้มาใช้จ่ายมีทุกรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลเลือกตั้ง หรือรัฐบาลรัฐประหาร และทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้งหนี้สาธารณะจะกลายมาเป็นประเด็นทางการเมือง ดังนั้นอยากให้ประชาชนสนใจเรื่องหนี้ในเรื่องคุณภาพนี้มากกว่าการไปเปรียบเทียบใครมากใครน้อยกว่ากัน

นายธีรัชย์ กล่าวว่า ทั้งนี้ล่าสุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ไทยมีมูลค่า 16 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะ 6.67 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41.33% ถ้าเปรียบเทียบในปี 2557 ขณะนั้นจีดีพีอยู่ที่ 12.06 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณ 5.69 ล้านล้านบาท คิดเป็น 43.3% ถ้าดูสัดส่วนหนี้ลดลง และหนี้สาธารณะยังต่ำกว่า 60% ตามกรอบวินัยการเงินการคลัง นอกจากนี้ถ้าดูการขาดดุลกับสุดส่วนการลงทันพบว่าเงินขาดดุลงบประมาณต้องกูมานั้น ส่วนใหญ่รัฐบาลชุดนี้กู้เพื่อการลงทุน โดยในปีงบ 2557รัฐจัดทำงบขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท กำหนดงบลงทุนไว้ 4.4 แสนล้านบาท ส่วนปีงบ2558 ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท งบลงทุน 4.5 แสนล้านบท ปีงบ 2559 ขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท งบลงทุน 5.64 แสนล้านบาท ปี 2560ขาดดุล 5.5 แสนล้านบาท ขาดดุล 6.6 แสนล้านบาท ปี 2561 ขาดดุล 5.5 แสนล้านบท ขาดดุล 6.7 แสนล้านบาท

นางธีรัชย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามมีบางปีของรัฐบาลชุดก่อนๆ จัดทำงบขาดดุลต่ำกว่าเงินลงทุน ซึ่งการกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำเช่น หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ปี 2553 รัฐบาลตั้งงบขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท แต่มีงบลงทุน 2 แสนล้านบาท และช่วงน้ำท่วมปี 2554 รัฐตั้งงบขาดดุล 4 แสนล้านบาท งบลงทุน 3.5 แสนล้านบาทดังนั้นการดูเรื่องบขาดดุลหรือหนี้ไม่ควรพิจารณาข้อมูลเพียงอย่างเดียว ควรดูรายละเอียดด้วย ทั้งนี้ในเรื่องการจัดทำงบขาดดุลต่ำกว่างบลงทุนนั้นคงไม่สามารถทำได้อีกแล้ว เพราะพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังห้ามไม่ให้ดำเนินการ