รากฐาน ของ “รัฐบาลเฉพาะกาล” รากฐาน ของ ชวลิต ยงใจยุทธ

 

ต้องยอมรับว่า ข้อเสนอว่าด้วย “รัฐบาลเฉพาะกาล” อันมาจากปาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มากด้วยความแหลมคม

เป็นความแหลมคมจาก 2 องค์ประกอบ

องค์ประกอบ 1 ฐานเดิมของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ทั้งในด้านการทหารและในด้านการเมือง

การทหารเคยเป็น “ผบ.ทบ.” และ “ผบ.ทสส.”

ยิ่งกว่านั้น ระยะก่อนเป็น “ผู้บังคับบัญชา” ก็ดำรงอยู่ในจุดอันเป็น “เสนาธิการ”มาอย่างต่อเนื่อง มีส่วนในคำสั่งที่ 66/2523

ในทางการเมืองก็ดำรงตำแหน่งทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและนายกรัฐมนตรี

จึงนำไปสู่องค์ประกอบ 1 ซึ่งสำคัญคือ ทาง”การข่าว”

 

จากพื้นฐานสำคัญอันก่อรูปขึ้นเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในทาง การเมือง การทหาร เช่นนี้ ทำให้ข้อเสนอว่าด้วย “รัฐบาลแห่งชาติ”มีความแหลมคม

แหลมคม 1 จากฐาน”การข่าว” อันกว้างขวางและไม่เคยสะดุดหยุดนิ่ง

ทั้งจากด้าน”การทหาร” ทั้งจากด้าน “การเมือง”

แหลมคม 1 จากวิธีวิทยาในการวิเคราะห์ด้วยการประสานข้อมูลด้าน “การข่าว” กับความจัดเจนที่ผ่านประสบการณ์ทั้งในด้าน “การทหาร” และ “การเมือง”

เป็นประสบการณ์ตามฉายาที่ว่า “ขงเบ้ง” แห่ง”กองทัพบก”

เป็นสมองก้อนโตเสริมความสำเร็จให้กับรัฐบุรุษระดับ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ มาแล้วอย่างเป็นที่ประจักษ์

คำว่า “รัฐบาลเฉพาะกาล” จึงมิได้ดำรงอยู่อย่าง”ว่างเปล่า”

น่าจะเป็นที่มาจากสภาพความเป็นจริงในทาง “ความคิด”ของสังคมซึ่งมีต่อผลงาน 4 ปีของ”คสช.”

การเสนอขึ้นมาจึงเท่ากับเป็นการจุดประกาย

 

ประเด็นที่จะต้องร่วมกันพิจารณาก็คือ 1 รากฐานที่มาแห่งคำว่า”รัฐบาลเฉพาะกาล”ที่เสนอโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

เป็นไปได้หรือไม่ว่าดำเนินในลักษณะ “ตัวแทน”

เป็น “ตัวแทน” จากหลายๆกลุ่มในทางสังคมที่เริ่มรู้สึกว่าเวลาของ “คสช.”น่าจะเพียงพอได้แล้ว

เป็นการเสนอขึ้นมาในวาระ 4 ปีแห่ง “รัฐประหาร”