“ราชินีจากคำทำนาย” สู่ “พระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย”

AFP PHOTO / STR

Thai King Bhumibol Adulyadej (L) and Queen Sirikit (C) stand near Belgium King Baudouin I, on October 1960 in Brussels, during their offcil visit to Belgium. / AFP PHOTO / BELGA

AFP PHOTO / BELGA

ตลอดระยเวลาแห่งการขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นับได้ว่าประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงบุญญาธิการ และทรงคุณงามความดีปกเกล้าปกกระหม่อมปวงประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมิเพียงแต่องค์พระมหากษัตริย์เจ้าเท่านั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระเอกอัครมเหสีแห่งรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงเป็น “นางแก้ว” คู่พระบารมีมาโดยตลอด

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นธิดาองค์ใหญ่ของ พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพ คือ “หม่อมราชวงศ์” ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ คือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ และ หม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์ และทรงมีพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ คือ หม่อมราชวงศ์บุษบา

8

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเพียง 49 วัน ณ บ้านพัก อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ของ พลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สะท้าน สนิทวงศ์) บิดาของหม่อมหลวงบัว ซึ่งเป็นเจ้าคุณตา

หลังพระราชสมภพไม่กี่วัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า “สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”

และเมื่อพระราชสมภพได้เพียง 3 เดือน หม่อมหลวงบัว พระมารดาต้องให้ธิดาไปอยู่ในความดูแลของเจ้าคุณตา-เจ้าคุณยาย เพราะต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคลไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ จวบจนปี 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจากราชการและเสด็จกลับเมืองไทย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงได้มาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาครอบครัวอีกครั้ง

ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าไว้ในหนังสือ “เป็น อยู่ คือ” ตอนหนึ่ง ว่า

“ระหว่างพักอยู่กับเจ้าคุณตาก็มีเรื่องเป็นที่ล้อเลียนเกิดขึ้น เนื่องจากวันหนึ่งขณะที่พี่เลี้ยงอุ้มหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เดินเล่น พอดีขณะนั้นมีแขก (แขกจริงๆ) ซึ่งเป็นเพื่อนของแขกยามประจำบ้านมาหากัน พอแขกที่มาเหลือบมาเห็น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็จ้องมอง พร้อมทั้งกวักมือเรียกพี่เลี้ยงขอให้เห็นใกล้ๆ หน่อย เมื่อพี่เลี้ยงพาเข้ามาให้ดูใกล้ๆ มองดูสักครู่ก็พูดว่า

“ต่อไปจะเป็นมหารานี” พี่เลี้ยงได้ฟังก็ชอบใจเที่ยวเล่าให้คุณยายและใครต่อใครฟัง ถึงไม่เชื่อแต่ก็ปลื้มใจ…”

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เริ่มเข้าเรียนที่แผนกอนุบาล โรงเรียนราชินี จนถึงชั้นประถม 1 ก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ต้องย้ายไปอยู่โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วัง

ระหว่างเรียนที่เซนต์ฟรังฯ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์สนใจและมีพรสวรรค์ในวิชาดนตรีเป็นพิเศษ จนครูผู้ฝึกสอนดนตรีออกปากชม ทั้งยังสามารถทรงเปียโนได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง ยิ่งกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ภายหลังสงครามสงบ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตประจำสำนักเซนต์เจมส์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงทรงพาครอบครัวเดินทางไปด้วยกันทั้งหมด รวมถึงหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ด้วย

ณ ที่แห่งนี้เอง คือจุดเริ่มต้นแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กับ พระเจ้าอยู่หัว กษัตริย์หนุ่มของเมืองไทย

000_arp2302140ในปี 2491 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสได้ทอดพระเนตรเห็นหน้าหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นครั้งแรก เนื่องเพราะมีพระราชประสงค์จะเสด็จเยี่ยมโรงงานต่อรถยนต์ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งครอบครัวของท่านทูต หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ไปรอรับเสด็จ ณ เมือง Fontainebleau ชานเมืองนครปารีส และบุตรีทั้งสองของท่านทูตร่วมไปรับเสด็จด้วย

ครั้งนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ สีหน้าไม่ดีนัก เพราะทั้งหิวและรอนาน เนื่องจากทรงผิดเวลาไปมาก เพราะรถยนต์พระราชพาหนะเกิดเครื่องเสียและน้ำมันหมด ต้องใช้เวลาแก้ไขนานพอสมควร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรเห็นหน้าหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ที่ไม่ค่อยจะงามนัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมักจะทรงล้อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อรับสั่งถึงความหลังว่า

“เดินตุปัดตุเป๋หน้างอคอยถอนสายบัว”

สมเด็จพระนางเจ้าฯ จะทรงกราบบังคมทูลตอบว่า “หน้าถึงต้องงอเพราะให้แต่ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย เด็กกลับไล่ไปกินที่อื่น…” แต่ก็เป็นความทรงจำที่ขำๆ เพราะเวลาที่รับสั่งถึงเรื่องนี้ทั้งสองพระองค์จะทรงพระสรวล

ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่นอกเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิ่งแรกเมื่อรู้สึกพระองค์คือ ทรงหยิบรูปหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ออกจากพระกระเป๋า ส่งถวายสมเด็จพระชนนีพร้อมทั้งรับสั่งว่า “แม่เรียกสิริมาที”

…ในการประชวรครั้งนั้น ทางราชการได้จัดส่งคณะผู้แทนรัฐบาลไปเฝ้าฯ เยี่ยมด้วย มีรับสั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เข้าเฝ้าฯ เป็นพิเศษ และมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ทรงรักหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อย่างแน่นอน”

เมื่อพระอาการประชวรเป็นปกติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นผู้ทูลเกริ่นทาบทามเรื่องที่จะทรงขอหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และได้พระราชทานพระธำมรงค์ให้เลือก หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขอรับพระราชทานพระธำมรงค์องค์เล็กของพระราชบิดา ซึ่งได้ประทานให้พระราชชนนี ซึ่งแสดงถึงความรักระหว่างสองพระองค์

Queen Sirikit of Thailand is seen walking out of a tour-boat 12 October 1960 in Paris during an official visit of the Thai royal couple to France. AFP / STF / AFP PHOTO / STF

19 กรกฏาคม 2492 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระราชชนนี รับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และมีการประกาศให้นักเรียนไทยได้รับทราบข่าวการหมั้น

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้ารับพระราชทานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม

และวันนั้น วันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส คือวันที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสำนึกในพระองค์เองว่า ต่อแต่นี้ไปแม้แต่พระชนมชีพก็จะน้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นสิทธิของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วแต่จะทรงพระเมตตา จะเจริญรอยตามพระยุคลบาทไปทุกหนทุกแห่ง จะทรงเป็นเงาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่ากาลข้างหน้านั้นจะทรงมีความทุกข์หรือสุขอย่างไรก็ตาม

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติหน้าที่ถวาย ทั้งบทบาทของการเป็นพระมารดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง 4 พระองค์ ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ซึ่งทรงปฏิบัติได้เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”

จึงทรงเป็นพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย

20111209224912

พระราชภารกิจ และพระราชกรณียกิจ โดยตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ทรงรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนของพระองค์ ซึ่งในที่สุดนำไปสู่โครงการช่วยเหลือราษฎรจนเกิดเป็นโครงการตามแนวพระราชดำรินับพันโครงการ และโครงการศิลปาชีพขึ้น

ในส่วนราชการต่างประเทศ ก็ได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2503 ทรงเป็นที่สนใจของสื่อต่างประเทศเป็นอย่างมาก และต่างประทับใจที่ทรงมีพระบุคลิกภาพและพระราชจริยาวัตรอันงดงามยิ่ง

This handout photo shows Thai King Bhumibol Adulyadej and Queen Sirikit smile while receiving Monarch and Royalty to watch a royal barge procession, a centuries-old ceremony held only once every few years, along the famous Chao Phraya river in Bangkok, 12 June 2006. Kings and queens, sultans and princes from 25 countries gathered in Thailand to celebrate 60 years on the throne for King Bhumibol Adulyadej, the world's longest-reigning monarch. RESTRICTED TO EDITORIAL USE AFP PHOTO/HO/ROYAL BUREAU / AFP PHOTO / ROYAL PALACE / STR
AFP PHOTO / ROYAL PALACE / STR

ตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงทรงเป็นคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถมาจนถึงทุกวันนี้

ดังที่เคยพระราชทานสัมภาษณ์ไว้ว่า

“ไม่เกิดประโยชน์อะไรที่ฉันจะมานั่งคิดว่า ฉันจะมีชีวิตอย่างไร ถ้าฉันไม่ได้เป็นพระราชินีประเทศไทย ฉันเป็นผู้ช่วยสามีมาหลายปีแล้ว และฉันตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุทิศชีวิตให้แก่งานนี้ตลอดไป…”