สู่ปีที่ 7 ซีพีเอฟ จับมือกรมป่าไม้ และชุมชนเดินหน้าฟื้นฟูป่าต้นน้ำ สร้างความมั่นคงทางอาหาร

ก้าวเข้าสู่ ปี ที่ 7 แล้ว กับ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสัก อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีภายใต้ความร่วมมือ 3 ประสาน โดยกรมป่าไม้ ชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

ณ วันนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า 6,971 ไร่ในพื้นที่โครงการเขาพระยาเดินธง ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่เพิ่มเติม พลิกฟื้นจากป่าเขาหัวโล้นและเต็มไปด้วยวัชพืช หนามสนิม สู่ผืนป่าที่ฟื้นตัวจนสามารถกลับมาเป็นทั้งแหล่งอาหารของชุมชน แหล่งอาหารของสัตว์ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ จากความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นการช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติแหล่งต้นน้ำ และสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน

“ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ส่งผลทั้งมิติด้านเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการที่ซีพีเอฟทุ่มเทอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าควบคู่กับการสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบ ด้วยการจ้างงานชุมชนเพาะกล้าไม้และช่วยดูแลต้นไม้

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ สนับสนุนชุมชนดำเนินโครงการอนุบาลปลาน้ำจืดเพื่อปล่อยลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และโครงการปลูกผักวิถีธรรมชาติ ทำให้มีแหล่งอาหารที่มั่นคงของชุมชน และมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายผลผลิตปลาและผัก

นอกจากนี้่ ซีพีเอฟ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ประเภทโครงการด้านป่าไม้และการเกษตรจากโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธงและพื้นที่สีเขียวในฟาร์มและโรงงาน และโครงการด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์

กิจกรรมครั้งล่าสุด คณะผู้บริหารของซีพีเอฟ นำโดย นายภาณุวัตร เนียมเปรม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสซีพีเอฟ ในฐานะประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง นำพนักงานจิตอาสาซีพีเอฟ จำนวน 250 คน ทำกิจกรรมปลูกพืชอาหารสัตว์ ปลูกต้นไม้ 24 ชนิด จำนวน 450 ต้น อาทิ ต้นสมอพิเภกต้นเขยตาย ต้นตาเสือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีความเหมาะสมในการเจริญเติบโตได้ดี และสามารถออกผลเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ รวมทั้งทำโป่งเทียม ด้วยการขุดดินบริเวณที่ลาดชันให้เป็นแอ่ง จากนั้นนำแร่ธาตุต่างๆ อาทิ แคลเซียม โพแทสเซียมเกลือสมุทร ลงไปผสมกับดินบริเวณที่ขุด เมื่อมีฝนตกหรือความชื้น ดินบริเวณดังกล่าวจะกลายเป็นแหล่งแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นของกลุ่มสัตว์กินพืชและสัตว์กีบธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บนเส้นทางสร้างความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้แนวคิด “จากภูผาสู่ป่าชายเลน” ซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ที่ผลิตอาหารคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้น้ำในการผลิตจึงตระหนักอยู่เสมอถึงการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ซึ่งถือเป็นต้นทางสำคัญของการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน