ซิตี้แบงก์ ชี้โควิด-19 กระตุ้นให้กลุ่ม ESG โตไวกว่าคาด เผยข้อมูลแนวโน้มภาคธุรกิจ ภาคการลงทุนในเอเชียแปซิฟิกมุ่งนโยบาย ESG

กรุงเทพฯ 13 กรกฎาคม 2564 – ธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดเผยข้อมูลรายงานผลการสำรวจเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG จากกลุ่มลูกค้าสถาบันจำนวน 259 รายใน 14 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 พบว่าส่วนใหญ่มีการจัดการและบริหารด้านการเงินที่แตกต่างกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย 54% มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ที่รวมเข้ากับกลยุทธ์องค์กรอยู่แล้ว ในขณะที่เกือบ 90% มีความตั้งใจที่จะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ภายในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งกว่า 2 ใน 3 ของผลการสำรวจระบุว่าสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงผลักดันด้านนโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ในบริษัท ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นที่น่าจับตา

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการสำรวจดังกล่าวสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Report from Citi รวมถึงติดต่อ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th  

ธนาคารซิตี้แบงก์ เผยผลสำรวจในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ที่ผ่านมา ซิตี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้าสถาบัน จำนวน 259 รายใน 14 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก ในเรื่อง ESG  โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งระดับอาวุโสในบริษัท โดย 16% เป็นประธานหรือซีอีโอ 24% เป็นผู้บริหารระดับสูง 26% เป็นกรรมการผู้จัดการและกรรมการ และ 28% เป็นรองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจากผลการสำรวจพบว่า 54% มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ที่รวมเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรอยู่แล้ว ในขณะที่เกือบ 90% ตั้งใจที่จะเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยการพัฒนา ESG ในองค์กร ประกอบไปด้วย กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน คิดเป็น 65% ด้านผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อความสัมพันธ์ทั้งกลุ่มลูกค้าและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร คิดเป็น 57% ด้านปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเป็น 48% ด้านการกำกับดูแล และนโยบายการใช้สิทธิซื้อก่อนที่ครอบคลุม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ คิดเป็น 42% ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการ ESG  คิดเป็น 28% และผลกระทบด้านความต้องการและราคาที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ESG คิดเป็น 22%

นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่ากลุ่มที่สนับสนุนนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG ในองค์กร  3 อันดับแรก ได้แก่ รัฐบาลหรือผู้กำกับดูแลจำนวน 33%  นักลงทุน 21% และลูกค้า 20% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องมือทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนที่ให้ความสนใจ ได้แก่ พันธบัตรสิ่งแวดล้อม 22% และการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่เชื่อมโยงกับ ESG จำนวน 42% อีกทั้งกว่า 2 ใน 3 ยังระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นแรงผลักดันด้านนโยบายและแนวปฏิบัติ ESG ในบริษัทอีกด้วย ซึ่งจากผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ชัดว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียกำลังได้รับความสนใจ

มร.ปีเตอร์ บาเบจ ประธานกรรมการบริหาร ซิตี้ เอเชียแปซิฟิก เสริมว่า ซิตี้ในฐานะธนาคารระดับโลกที่มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซิตี้เล็งเห็นว่าการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนเป็นทั้งหน้าที่และเป็นโอกาสในการสร้างพันธมิตรกับลูกค้าของซิตี้ทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยซิตี้ได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับลูกค้าสถาบัน ไม่เพียงแต่นำเสนอการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยให้เร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเท่าเทียมยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ซิตี้ก็ช่วยลูกค้านักลงทุนในการเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนให้เน้นในกลุ่มบริษัทที่สะอาดขึ้น รวมถึงขอบเขตด้านการจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืนของซิตี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งหมด ตั้งแต่นักลงทุนเปลี่ยนตำแหน่งพอร์ตการลงทุนไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปจนถึงองค์กรที่ปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ผ่านการซื้อกิจการและการขายกิจการ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของซิตี้ในการสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้รายงานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงการเติบโตของการเงินด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นด้านการเงินที่ยั่งยืนในวงกว้าง ซิตี้ได้ระดมทุนกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สำหรับลูกค้าสถาบันในเอเชียแปซิฟิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 400% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ควบคู่ไปกับการกำลังพัฒนาโซลูชันร่วมกับลูกค้านักลงทุนเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแก้ไขข้อกำหนดที่สำคัญในการเปิดตัวดัชนี Citi ESG World Indices ซึ่งเป็นดัชนีที่เป็นกรรมสิทธิ์แห่งแรกของซิตี้ที่นำเสนอเกณฑ์มาตรฐานสำหรับนักลงทุน ESG ที่ดีที่สุดในระดับเดียวกันจากตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกที่จะมาช่วยในด้านการซื้อขายและเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนลูกค้าไปสู่ ESG พร้อมกันนี้ยังเน้นย้ำถึงสิ่งที่ซิตี้ได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซิตี้ได้บรรลุเป้าหมายด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดหาไฟฟ้าหมุนเวียน 100% สำหรับโรงงานทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย มร.ปีเตอร์ บาเบจ กล่าวสรุป

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการสำรวจสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Report from Citi รวมถึงติดต่อธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th  

###

หมายเหตุถึงกองบรรณาธิการ

ในปี 2562 ซิตี้บรรลุเป้าหมายทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อม 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนกำหนดที่ตั้งไว้เมื่อ 4 ปีก่อน เป้าหมายคือการจัดหาเงินทุนและอำนวยความสะดวก 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 10 ปี เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำทั่วโลก

ในเดือนเมษายน ปี 2564 ซิตี้ให้คำมั่นสัญญาจำนวน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในด้านการเงินที่ยั่งยืนภายในปี 2573 พันธกิจมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐนี้รวมถึงการขยายเป้าหมายการเงินด้านสิ่งแวดล้อมจาก 250 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 เป็น 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ซึ่งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจที่มีคาร์บอนต่ำ ความมุ่งมั่นของซิตี้ยังรวมถึงการเพิ่มอีก 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพื่อลงทุนในกิจกรรมอื่น ๆ มุ่งเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) เช่น การศึกษา ที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง การดูแลสุขภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน การเงินชุมชน การเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ความหลากหลายทางเชื้อชาติ และความเท่าเทียมทางเพศ

เพื่อให้ธุรกรรมถูกนับรวมไปสู่เป้าหมายการเงินด้านสิ่งแวดล้อมมูลค่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ธุรกรรมดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างน้อยหนึ่งข้อ ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีสะอาด คุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ การขนส่งที่ยั่งยืน อาคารสีเขียว การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และการเกษตรและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยเศรษฐกิจหมุนเวียนและเกษตรกรรมยั่งยืนและการใช้ที่ดินเป็นเกณฑ์ใหม่สำหรับเป้าหมายการเงินด้านสิ่งแวดล้อม 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซิตี้เชื่อว่าวัตถุดิบในการผลิตและการจัดการในการผลิตอาหารและการใช้ที่ดินสะท้อนถึงแหล่งที่มาของการปล่อยมลพิษที่สำคัญและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องเป็นกุญแจสำคัญในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตั้งแต่ปี 2544 ซิตี้ได้ทำงานเพื่อจัดการ และลดผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงาน โดยการติดตามการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำ ของเสีย และความคิดริเริ่มในการสร้างอาคารสีเขียว ซิตี้ยังคงมุ่งมั่นที่จะลดมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อมของที่ทำงานกว่า 7,000 แห่งของเราในเกือบ 100 ตลาด ส่วนใหญ่เน้นไปที่การสร้างความมั่นใจว่าพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ของเราเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบ

ในปีพ.ศ. 2563 สถานที่ทำงานของเราที่ผ่านการรับรองความเป็นผู้นำด้านการออกแบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม (LEED)* มีเพิ่มขึ้น 10% และซิตี้ลดการใช้พลังงานและการบริโภคของเสียลงทั่วทั้งภูมิภาค โดยรวมแล้วซิตี้มีพื้นที่สำนักงาน 9.7 ล้านตารางฟุตในเอเชียแปซิฟิก พร้อมกันนี้ ซิตี้กำลังดำเนินการเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนในวงกว้างในหมู่พนักงาน 200,000 คนทั่วโลกผ่าน Global Sustainability Network ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรภายในกว่า 150 ราย ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายการแบ่งปันข้อมูลระหว่างทีมงานและบุคคลต่าง ๆ ในหลากหลายแง่มุมของความยั่งยืน

*โครงการรับรองอาคารเขียว

 

เกี่ยวกับ “ซิตี้”

ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citibank.co.th | เฟซบุ๊ก: Citi Thailand  | LINE: Citi Thailand