ดีพร้อม เปิดข้อมูลผลกระทบผู้ประกอบการจากโควิด-19 สิ้นไตรมาส 1 คาดทิศทางอุตฯ สัญญาณดี พร้อมงัดไม้เด็ด STI 3 มาตรการ ช่วยธุรกิจไทยเต็มเหนี่ยว 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เผยผลสำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจทั่วประเทศ 1,494 ราย ข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2564 พบผลกระทบที่ผู้ประกอบการเผชิญ อันดับ 1 ร้อยละ 84.87 กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ส่งผลให้ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง อันดับ 2 ร้อยละ 66.53 ประสบปัญหาด้านการตลาด  อันดับ 3 ร้อยละ 63.05 ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจ ฯลฯ ทั้งยังพบว่าผู้ประกอบการมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วทำให้กิจการเริ่มฟื้นตัว จึงเร่งพัฒนา 3 มาตรการสติ (STI) ฟื้นฟูเร่งด่วนช่วยผู้ประกอบการได้แก่ มาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน มาตรการเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ และมาตรการเพื่อบวสนับสนุนด้านการตลาด เพื่อช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น


นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม (DIPROM) เร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดเดิมของโควิด-19 ตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายทีมกูรูดีพร้อม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 ศูนย์ทั่วประเทศ สำรวจผลกระทบและความต้องการของผู้ประกอบการจำนวน 1,494 ราย ซึ่งแบ่งออกเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้อยละ 73 และวิสาหกิจชุมชน ร้อยละ 27 พบว่า 7 อันดับผลกระทบที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาสูงสุด คือ

อันดับที่ 1 ร้อยละ 84.87 กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ส่งผลให้ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง

·      อันดับที่ 2 ร้อยละ 66.53 ประสบปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากมีการแข่งขันสูงผ่านกลยุทธ์ด้านโปรโมชั่นเพื่อระบายสินค้าคงคลัง

·      อันดับที่ 3 ร้อยละ 63.05 ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจ ขายเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากรายได้ลดลง เก็บเงินจากลูกค้าได้ยากขึ้น

·      อันดับที่  4  ร้อยละ 30.25 ประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน มีราคาสูงขึ้น และผู้ผลิตบางรายปิดกิจการ

·      อันดับที่  5 ร้อยละ 26.57  ประสบปัญหาเกี่ยวระบบโลจิสติกส์ที่มีขั้นตอนเพิ่มมากขึ้นใช้ระยะเวลานานขึ้น และ ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น

·      อันดับที่   6 ร้อยละ 24.16 ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว

·      อันดับที่ 7 ร้อยละ 18.74 ประสบปัญหาจากการผลิตไม่คุ้มทุน  ลด/ชะลอ/หยุดการผลิต 

ขณะที่ 7 อันดับ ผลสำรวจการปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว พบว่า

·      อันดับที่ 1 ร้อยละ 71.55 ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ขยายฐานลูกค้าไปยังหน่วยงานภาครัฐ

·      อันดับที่ 2 ร้อยละ 53.75  ลดค่าใช้จ่าย ประหยัดการใช้พลังงานในสำนักงาน ลดปริมาณการจัดเก็บวัตถุดิบ และเลือกวัตถุดิบที่มีอายุเก็บรักษาได้ยาวนาน และราคาถูกลง

·      อันดับที่ 3 ร้อยละ 50.47 พัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่นปรับขนานบรรจุภัณฑ์เพื่อลดค่าขนส่ง

·      อันดับที่ 4 ร้อยละ 45.65 ใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการภาคการผลิต ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อวางแผนการผลิตที่แม่นยำ

·    อันดับที่ 5  ร้อยละ 37.48 หาแหล่งเงินทุนที่ให้สินเชื่อในระยะที่สามารถยืดหยุ่นได้และมีดอกเบี้ยต่ำ

·      อันดับที่ 6 ร้อยละ 32.93 ปรับลดไลน์ผลิต ลดจำนวนชั่วโมงงาน ให้พนักงาน Work From Home พัฒนาทักษะพนักงานเพิ่มเติม

·      อันดับที่ 7 ร้อยละ 19.88 ปรับแผนการขนส่ง หาพันธมิตรผู้ประกอบการเพื่อแชร์ค่าบริการ และดำเนินการขนส่งเอง

นายภาสกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมการปรับตัวของผู้ประกอบการเป็นไปตามแนวทางที่ได้ส่งเสริมในปี 2563 ซึ่งถือได้มีการดำเนินงานเดินมาถูกทาง โดยเพื่อยกระดับมาตรการให้สอดรับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ดีพร้อม ได้นำข้อมูลจากผลสำรวจข้างต้น มาประกอบการวางแผนพัฒนามาตรการเร่งด่วน เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย “สติ” (STI) 3 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน อาทิ โครงการการเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการขอสินเชื่อเพื่อ SMEs ในยุค New Normal โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีทักษะการบริหารการเงินที่ดี หรือ Financial Literacy ทั้งการวางแผนการบริการจัดการหนี้ การจัดการธุรกิจในภาวะวิกฤต การวางแผนด้านภาษี และโครงการส่งเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการขอสินเชื่อ ผ่านการพัฒนาทักษะการเขียนแผนธุรกิจ สำหรับใช้ประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อ เพิ่มโอกาสการได้รับอนุมัติสินเชื่อ และลดความเสี่ยงจากหนี้สูญ

ตลอดจนยังมี มาตรการเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ อาทิ โครงการเพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการในการบริหารจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรม ทักษะการบริหารจัดการแรงงานฝ่าวิกฤตแรงงานต่างด้าว โดยส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยี AI เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพในภาคการผลิต สามารถคำนวนข้อจำกัดต่างๆ ทั้งยังช่วยให้เกิดการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสามารถหยุดและดำเนินการผลิตได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อแรงงานบุคคล และมาตรการเพื่อสนับสนุนด้านการตลาด อาทิ โครงการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการสู่ความเป็นมืออาชีพในด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งการตลาดออนไลน์ เป็นเครื่องมือที่ ดีพร้อม ส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาด นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลการส่งเสริมผู้ประกอบการให้ดีพร้อม ได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4414-18 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipindustry และ www.dip.go.th

###

บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

ที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

นางสาวพัณณิดา เคียงศิริ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากบริษัทลงทุนนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักสลัดมาจากต่างประเทศ  ปลูกในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิและควบคุมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตเพื่อให้ได้ผักสลัดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เรายอมที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของบุคลากรทั้งองค์กร  ทั้งๆที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการของห้างสรรพสินค้า ธุรกิจร้านอาหาร และโรงแรม ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 20-30 ในช่วงปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 หรือ SMEs Grow Up โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM)  ซึ่งได้เรียนรู้ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อระบายสินค้า เนื่องจากข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเก็บได้นาน ผ่านการเรียนรู้วิธีการวางกลยุทธ์เพื่อกำหนดจุดยืน/จุดต่างในแพลตฟอร์มออนไลน์ (Brand Value Proposition) การเข้าถึงลูกค้าผ่านบัญชีไลน์เพื่อธุรกิจ หรือ Line OA และการพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัท จึงเป็นโอกาสให้สามารถเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย และเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลลัพท์จากการพัฒนาพบว่าสินค้าตนเองมียอดการค้นหาใน Google เพิ่มมากขึ้นจากลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ทำให้ยอดขายออนไลน์เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 30 ทั้งนี้ตั้งเป้าภายในระยะเวลา 12 ปีนี้จะทำให้มียอดขายประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 จากยอดขายปกติ

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ Super Fresh เพิ่มเติมได้ที่ www.ackfoodtech.com โทรศัพท์ 02-333-1125

บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด

ชื่อธุรกิจ                         บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัด

ทุนจดทะเบียน                  100  ล้านบาท

ชื่อผู้บริหาร                      นางพัณณิดา เคียงศิริ รองกรรมการผู้จัดการ

ประเภทอุตสาหกรรม          อาหารและเกษตรแปรรูป

ขนาดกิจการ                    ขนาดกลาง (ปัจจุบันมีจำนวนพนักงาน 180 คน)  

กำลังการผลิต                   มากกว่า 100 ตันต่อเดือน

ที่อยู่                              469 ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170

โทรศัพท์                                     035 930 501

อีเมล                             [email protected]

เว็บไซต์                          http://www.ackfoodtech.com

ใบรับรองระบบจัดการมาตรฐาน        GMP, HACCP, Thai GAP, FSC22000

            บริษัท เอซีเค ฟู้ดเทค จำกัดดำเนินกิจการมากว่า 20 ปี มุ่งมั่นผลิตสินค้าที่สด สะอาดปลอดภัย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และสินค้าผักสลัดแบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย มีความพร้อมที่จะพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อตอบโจทย์กับการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าและความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าเป็นสำคัญ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 100 ชนิด ทั้งผักสลัดไฮโดรโปนิกส์และออร์แกนิกส์ สลัดมิกซ์ สลัดแพ็คสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ผักสมุนไพร น้ำาสลัด องค์ประกอบโรยหน้าต่างๆ และยังให้บริการผลิต สินค้าตามความต้องการอื่นๆ อีกด้วย

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการ SMEs Grow Up ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่ าวิกฤตโควิด – 19 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรมอย่างเข้มข้นในรูปแบบ Online ซึ่งสามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และสามารถสร้างฐานลูกค้าใหม่ร้อยละ 30