วิถียั่งยืน ซีพีเอฟ ร่วมฟื้นฟูป่า คืนสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

DCIM100MEDIADJI_0081.JPG

สภาพป่าแห่งนี้  เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เป็นป่าที่แห้งแล้งมาก  มองไปเห็นแต่โขดหิน เครือเถาวัลย์ และหนามสนิมขึ้นเต็มไปหมด  หน้าแล้งก็มีไฟไหม้ป่าตลอด เพราะอากาศร้อนและแห้งมาก  ผิดกับสภาพป่าตอนนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปผิดหูผิดตา    หลังจากที่กรมป่าไม้และซีพีเอฟเข้ามาฟื้นฟู  ผมเองก็ระดมชาวบ้านไปช่วยปลูกป่าตลอด  ดีใจที่วันนี้เราได้ป่ากลับคืนมาอีกครั้ง”

นายรวบ ชัยวัติ ผู้ใหญ่บ้านห้วยบง วัย 54 ปี  ซึ่งอาศัยอยู่ ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  มานานกว่า  20 ปี เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของป่าในพื้นที่เขาพระยาเดินธง  จากป่าแห้งแล้งสู่ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านได้อาศัยผืนป่าเป็นแหล่งอาหาร เข้าไปเก็บเห็ด เก็บหน่อไม้เพื่อนำมาบริโภค พร้อมกับบอกด้วยว่า  อีก  10-20 ปีข้างหน้า ถ้าชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาป่าให้อยู่อย่างยั่งยืน จะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนดิน ฝนตกตามฤดูกาล  สัตว์ต่างๆกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในป่าเหมือนเดิม

นายวราวุธ อ่วมเอี่ยม วัย  52 ปี  ชาวบ้านห้วยบง ซึ่งปัจจุบันทำเกษตรผสมผสาน  เป็นอีกคนหนึ่งที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าที่เขาพระยาเดินธงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปลูกต้นกล้า ทำฝายชะลอน้ำ  ทำแนวกันไฟ กำจัดวัชพืช  เล่าว่า   ตอนที่ผมเข้ามาอยู่ในพื้นที่ มองไปเห็นป่าเป็นเขาหัวโล้น และมักจะเกิดไฟป่า  จนเมื่อปลายปี  2560  ผู้ใหญ่บ้านเข้ามาชักชวนให้ไปร่วมกิจกรรมปลูกป่าบนพื้นที่เขาพระยาเดินธงโดยกรมป่าไม้และซีพีเอฟ    ด้วยความที่ผมเป็นจิตอาสาอยู่แล้ว ก็เข้า

ไปร่วมกิจกรรม  ยอมรับว่าช่วงแรกคิดว่าที่ภาคเอกชนเข้ามา  คงทำแค่ฉาบฉวย เข้ามาแล้วเดี๋ยวก็ไป แต่จนถึงวันนี้  ต้นไม้โตเกือบท่วมหัวแล้ว  และชุมชนก็คาดหวังว่าซีพีเอฟจะทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นที่พึ่งพาให้แก่ชุมชนต่อไป   ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและดูแลป่า  รวมทั้งได้ประโยชน์จากผืนป่าที่กลับมาอุดมสมบูรณ์ด้วย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ   ซีพีเอฟ  กำหนดให้ความรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม  เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจองค์กร เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน  หนึ่งในความมุ่นมั่น คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ดำเนินโครงการเพื่อร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ร่วมอนุรักษ์  ฟื้นฟูป่า และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทยไปแล้วมากกว่า  10,000  ไร่ ผ่านการดำเนินโครงการ”ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” 5,971 ไร่  โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” พื้นที่  2,388  ไร่  ในพื้นที่  จ.ระยอง  สมุทรสาคร   ชุมพร สงขลา และพังงา   และโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ”ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ   ซึ่งจนถึงปัจจุบันดำเนินการไปแล้วรวมประมาณ   1,720 ไร่  ช่วยกักเก็บคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   โดยในปี  2561   โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง สามารถกักเก็บคาร์บอนได้  38,108  ตันคาร์บอนไดออกไซ์เทียบเท่า 

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า   บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาวิกฤติการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่กับให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ “ โดยร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชน ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่า  ซึ่งจนถึงปัจจุบัน  ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 10,000 ไร่  ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ป่าชายเลน รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการของบริษัททั่วประเทศ

นอกจากโครงการปลูกป่าบนบก ป่าชายเลน และส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการแล้ว   ซีพีเอฟยังได้ร่วมโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร ในโครงการ“ปลูกเพื่อ ป(ล)อด ล้านต้นลด PM 2.5”ภายใต้  Green City by MOAC ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคเอกชน  ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นประธานเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อ  9 ก.พ.ที่ผ่านมา ความร่วมมือ ครั้งนี้ ซีพีเอฟได้สนับสนุนต้นไม้ 250,000  ต้น แจกจ่ายประชาชน  โดยส่วนแรก  ต้นกล้า 100,000   ต้น   ใช้ร้านซีพี เฟรชมาร์ท 160 สาขาทั่ว กทม. เป็นจุดกระจายต้นกล้าให้ประชาชน  ส่วนที่สอง  แจกต้นกล้า  30,000 ต้น ให้คนทำงานย่านสีลมนำกลับไปปลูกที่บ้าน ที่ทำงาน   และส่วนที่สาม นำต้นกล้า   120,000 ต้น บริเวณเสาตอม่อรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยร่วมมือจาก กทม. และ BTS เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างยั่งยืน