คนรู้สึกว่าของแพง-เงินเฟ้อมาก เพราะ ?

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ถอดรหัส กรอบ เงินเฟ้อ

ปิติ ดิษยทัต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

เปิดเผย

ได้ร่วมกับทศพล อภัยทาน และพิม มโนพิโมกษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ทำวิจัยเพื่อเข้าใจพฤติกรรมการตั้งราคาผ่านบิ๊กดาต้า

โดยนำข้อมูลราคาสินค้ากว่า 2 หมื่นรายการใน 77 จังหวัด รวมข้อมูลกว่า 9 ล้านข้อมูลมาใช้พบว่า

ตัวเลขเงินเฟ้อที่เห็นว่าขึ้นร้อยละ 1.1.5 หรือเงินเฟ้อที่ขึ้นต่ำ แต่คนรู้สึกว่าของแพง เป็นเพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึก มีความแตกต่างในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าแต่ละหมวดมาก

สินค้าที่คนใช้ทุกวันราคาปรับขึ้นสูง แต่สินค้าคงทนที่นานๆ ซื้อครั้งราคาลดลงมาก

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อซึ่งปรับขึ้นลงแต่ละเดือนก็มาจากการขึ้นลงของราคาสินค้าบางรายการ ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงราคาพร้อมกันทุกหมวดสินค้า

สะท้อนว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างแต่ละกลุ่มสินค้ามีผลกับเงินเฟ้อมากกว่านโยบายการเงิน

ดังนั้น การตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจึงควรเป็นกรอบระยะปานกลางและสามารถตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อให้ต่ำลงกว่าเดิมได้เล็กน้อย และใช้เป็นแค่กรอบชี้นำทาง ไม่จำเป็นต้องกรอบนโยบายเงินเฟ้อสูงไปชดเชยการไม่ปรับลดราคา

ผลวิจัยนี้เท่ากับตอบความสงสัยที่ว่า เงินเฟ้อต่ำ ยังไม่เข้าเป้าหมาย แต่เหตุใดประชาชนโดยทั่วไปกลับรู้สึกว่าของแพงขึ้นทุกวัน เงินเฟ้อต่ำได้อย่างไร