เผยแพร่ |
---|
แม้ยังไม่มีความชัดเจนว่าชะตากรรมของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา จะดำเนินไปอย่างไร แต่”ร่องรอย”ก็พอจะฉายชี้ถึง”แนวโน้ม”ได้ว่าเป็นอย่างไร
มีความเป็นไปได้สูงขึ้นเป็นลำดับว่าระหว่างความต้องการของพรรคก้าวไกล กับ ความต้องการของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา จะสวนทางกัน
นั่นก็คือ พรรคก้าวไกลต้องการได้ตำแหน่ง”ผู้นำฝ่ายค้าน”อย่างน้อยการออกจากตำแหน่ง”หัวหน้าพรรค”ของ นายพิธา ลิ้ม เจริญรัตน์ ก็ชัดเจน
ชัดเจนว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สามารถเป็น”ผู้นำฝ่าย ค้าน”ได้เพราะต้องคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสส.จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน
การออกไปของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ การเข้ามาของ นายชัยธวัช ตุลาธน ในตำแหน่ง”หัวหน้าพรรค”จึงเท่ากับสะท้อนความ ต้องการของพรรคก้าวไกลต่อตำแหน่ง”ผู้นำฝ่ายค้าน”
คำถามจึงอยู่ที่ว่า นายปดิพัทธ์ สันติธาดา จะเห็นชอบกับมติ และความต้องการของพรรคก้าวไกลหรือไม่
หรือว่ายังต้องการตำแหน่ง”รองประธานสภา”อยู่
หากศึกษา”ท่าที”ของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา อย่างต่อเนื่อง ด้าน หนึ่ง พร้อมที่จะยอมรับต่อมติของพรรค แต่ด้านหนึ่งก็อาลัยอาวรณ์ต่อตำแหน่ง”รองประธานสภา”
เห็นได้จากการยืนหยัด”โครงการไปดูงานรัฐสภา”ที่สิงคโปร์ว่าเป็นความชัดเจนเพื่ออะไร
1 เป็นความชัดเจนเพราะดำเนินไปบนพื้นฐานแห่งความต้อง การทำ”รัฐสภาโปร่งใส”ดังที่เคยแสดงออกในห้วงแห่งการอยู่ในฐานะผู้ชิงตำแหน่ง”ประธานสภา”
ขณะเดียวกัน 1 เป็นความชัดเจน แน่วแน่และด้วยความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่า ตำแหน่ง”รองประธานสภา”จะสามารถเป็นฐานในการสร้าง”ผลงาน”อันโดดเด่นขึ้นมาได้
เพียงแต่ว่าเมื่อไม่สามารถดำรงตำแหน่ง”รองประธานสภา”ในเมื่อพรรคต้องการตำแหน่ง”ผู้นำฝ่ายค้าน”จะหาทางออกเช่นใด
วินาทีนับแต่ที่ประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2566 พรรคก้าวไกลลงมติเลือก นายชัยธวัช ตุลาธน เป็นหัวหน้าพรรคแทน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ลาออกไป
นั่นหมายถึงเวลาแห่งการต้อง”เลือก”ครั้งสำคัญ
ไม่ว่าจะมองจากยุทธศาสตร์และภารกิจเฉพาะหน้าของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะมองจากความต้องการและความเชื่อมั่นของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา มีความจำเป็นต้องเลือก
คำถามอยู่ที่ว่าอะไรคือทางเลือก “ผู้นำฝ่ายค้าน” หรือ”รอง ประธานสภา”ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง