เผยแพร่ |
---|
แต่ละจังหวะก้าวในการเคลื่อนไหวของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา ได้รับความสนใจอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปดูงานที่รัฐสภาของสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง”รองประธานสภา”
หากดูจากการยืนหยัดเดินหน้าในโครงการดูงานรัฐสภาสิงคโปร์ก็จะสัมผัสได้ในความมุ่งมั่น
กรณีอันเกี่ยวกับแรงงานไทย กรณีอันเกี่ยวกับมาตรการในการบริหารจัดการต่อพีเอ็ม 2.5 อาจเป็นเรื่องแวดล้อม แต่ด้านหลักน่าจะเป็นเรื่อง”รัฐสภาโปร่งใส”
ไม่ว่าจะมองผ่านผู้ร่วมคณะที่เป็น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญา วุฒิ ไม่ว่าจะเป็น นายไกลก้อง วิทยาการ 2 คนนี้มีความเด่นชัดยิ่ง ว่าสนใจในเรื่อง”คอมพิวเตอร์” สนใจในเรื่อง”ดาต้า”
นายไกลก้อง วิทยาการ คือ ผู้ที่ไปวางรากฐาน”สมาร์ท ซิตี้”ให้กับระบบตรวจสอบประปาที่อาจสามารถ ร้อยเอ็ด นายณัฐพงษ์ เรื่องปัญญาวุฒิ คือว่าที่รัฐมนตรีดีอี”เงา”
ในเมื่อคำประกาศของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา ตั้งแต่แรกที่จะเข้าดำรงตำแหน่งเป็น”ประธานสภา” คือการผลักดันให้เกิด”รัฐ สภาโปร่งใส”ในทางเป็นจริง
นี่จึงเป็น”ยุทธศาสตร์”ที่ยังแน่วแน่ ไม่ไม่แปรผันพลิกเปลี่ยน
ความแน่วแน่ในแนวทาง ความมั่นคงในหลักการอัน นายปดิพัทธ์ สันติธาดา สำแดงออกแม้จะผิดหวังจากตำแหน่ง”ประธานสภา”ก็ยังเกาะติดอยู่กับตำแหน่ง”รองประธานสภา”
จึงพอจะเป็นแนวโน้มแห่งความเป็นไปได้ที่ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา จะตัดสินใจต่อไปในทางการเมือง
ขณะเดียวกัน หากติดตามความรู้สึกของ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ต่อความเหมาะสมที่ควรเลือกของ นายปดิพัทธ์ สันติ ธาดา ก็ชี้ออกมาค่อนข้างชัดเจน
ชัดเจนว่า นายปดิพัทธ์ สันติธาดา น่าจะต้องรักษาตำแหน่ง“รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1”เอาไว้บนพื้นฐานแห่งการพัฒนาระบบของรัฐสภาเพื่อประโยชน์ของประชาชน
แม้ว่าหนทางเลือกเช่นนี้จะเสี่ยงอย่างยิ่งในทางการเมืองภายใต้คำถามว่าด้วยจริยธรรม ว่าด้วยการเมือง”ใหม่”
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ของพรรคก้าวไกล จึงเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญ ไม่เพียงแต่ต่อพรรคก้าวไกล หากยังทรงความ หมายต่อการตัดสินใจของ นายปดิพัทธ์ สันติธาดา
ระหว่างตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านกับตำแหน่งรองประธานสภา
ไม่ว่าหัวหน้าพรรคคนใหม่ ไม่ว่าเลขาธิการพรรคคนใหม่ ไม่ว่ากรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ไม่ว่า นายปดิพัทธ์ สันติธาดา ก็มาถึงทางแพร่งที่จำเป็นต้องเลือก
ทุกอย่างต้องดำเนินไปอย่างตรงไปตรงมา บนพื้นฐานอันเป็นคุณในทางการเมือง เป็นคุณต่อประชาชน
ปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมากย่อมอยู่ที่”เหตุผล”ที่มีในมือ