E-DUANG : มาตรการ ตรวจสอบ รัฐธรรมนูญ ผ่าน เส้นทาง แห่ง “ประชามติ”

แม้ว่าร่างพรบ.ประชามติจะถือได้ว่าเป็นร่างพรบ.ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่เมื่อผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาก็มีความสมบูรณ์ในสถานะแห่งพรบ.

ความมีชีวิตของพรบ.ประชามติจึงดำเนินไปเหมือนกับความมีชี วิตของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

ด้านหนึ่ง ดำรงอยู่ในสถานะแห่งความเป็นเครื่องมือของรัฐบาล กระทั่งบางคนนิยามออกมาอย่างรวบรัดว่าเป็น รัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาเพื่อ”พวกเรา”

คำว่า “พวกเรา”ในที่นี้ย่อมหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ย่อมหมายถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ย่อมหมายถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

ในที่นี้ย่อมครอบคลุมไปยังการปรากฏขึ้นของ 250 ส.ว. และการดำรงอยู่ของ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐและพันธมิตร

พันธมิตรอันล้วนก่อเกิดจาก”แม่น้ำ 5 สาย”แห่ง”รัฐประหาร”

กระนั้น ในเมื่อ”รัฐธรรมนูญ”ดำรงอยู่อย่างมี”ชีวิต” อีกด้านหนึ่ง ย่อมต้องผ่านการทดสอบ เคี่ยวกรำจากสภาพการณ์ทางการเมือง

อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกวิพากษ์ โจมตีตั้งแต่มอบหมายให้ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เข้ามารับผิดชอบในฐานะประธานยกร่างในสภาปฏิรูปแห่งชาติ

แม้จะมีการคว่ำไปโดยมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติในเดือนสิงหา คม 2558 แต่วิบากกรรมก็ยังดำรงอยู่

ยิ่งเมื่อคสช.มอบภาระหน้าที่นี้ให้อยู่ในมือของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ภาพแห่งการสืบทอดอำนาจย้อนยุคไปยังรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ประสานกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ก็ยิ่งแจ่มชัด

ด้านหนึ่ง ฝ่ายกุมอำนาจใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจ แต่อีกด้านหนึ่ง อีกฝ่ายก็ใช้ในการเปิดโปงโจมตี

สะท้อนความอัปลักษณ์แห่ง”รัฐธรรมนูญ”อย่างล่อนจ้อน

ต่อพรบ.ประชามติก็เช่นเดียวกัน ด้านหลักอาจเป็นเครื่องมือของรัฐ บาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระนั้น ก็สามารถนำมาใช้เป็น เครื่องมือในการเปิดโปงโฉมแห่ง”รัฐธรรมนูญ”ได้

หากสามารถผลักดันให้ตั้งคำถามและนำไปสู่”ประชามติ”

นั่นย่อมเป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมยิ่งในการตั้งคำถามและหาคำ ตอบจากความเป็นจริงของ”รัฐธรรมนูญ”ได้

ปลายหอกย่อมพุ่งใส่ยอดอก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา