E-DUANG : สำนึก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กฎหมาย และ การเมือง

พลันที่มีคำพูด “ผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”หลุดออกมาจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมกับคำขอโทษต่อคณะรัฐมนตรี ก็มีความแจ่มชัด

แจ่มชัดว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการถวายสัตย์ปฏิญาณ ตนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม

แจ่มชัดว่าการท้วงติงด้วยความห่วงใยจาก นายปิยบุตร แสง กนกกุล ในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม เป็นบทบาทที่ถูกต้อง

คำว่าเป็นเรื่อง”ร้ายแรง”ที่ปรากฏในบนบัลลังก์ประธานจึงมิได้หมายถึง นายปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งเป็นผู้ท้วงติงหากแต่เป็นเรื่องอันเกิดขึ้นในการถวายสัตย์

คำถามก็คือ แล้วจะ”รับผิดชอบ”อย่างไร

 

การเสนอคำถามในเรื่องของ”ความรับผิดชอบ”ต่อกรณีนี้สัมพันธ์ทั้งในเรื่องของนิติธรรมและจริยธรรม

นิติธรรมเพราะเป็นเรื่องของ”รัฐธรรมนูญ”

จริยธรรมเพราะเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำ แหน่งในทางการเมือง และเป็นผู้นำในการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิ ญาณ

เรื่องเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม จึงสัมพันธ์ทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง

ในทางกฎหมายเมื่อผิดก็หาหนทางทำให้ถูก

ความหมายย่อมหมายความว่าต้องเริ่มต้นจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ให้ครบถ้วน

มิใช่ขาดหาย มิใช่เติมเข้าไป

ในทางการเมืองเมื่อผิดและเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมไม่บังควรก็ควรจะมีการพิจารณาตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความรับผิดชอบ

ไม่ว่าในฐานะชายชาติทหาร ไม่ว่าในฐานะนักการเมือง

 

ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคมเด่นชัดว่า คิดอย่างหนึ่งละจะปฏิบัติอย่างหนึ่ง

เพียงแต่ถูก”สังคม”กดดันอย่างหนักหน่วง

หนักหน่วงเพราะ 1 ตัวเองก็รู้ว่าผิดพลาด และ 1 มีหลักฐาน เป็นที่ประจักษ์กระทั่งต้องยอมจำนน

คำถามก็คือ จะแสดงการยอมจำนนมากน้อยเพียงใด