E-DUANG : เสียงร้อง จาก Good Monday ใครเผลอ “รำ” ตามไป อย่างเผลอตัว

ผลสะท้อนอันเนื่องแต่รายการ Good Monday เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนำเสนอผ่านเวอร์ชั่น 2 และเวอร์ชั่น 3 ตามลำดับ อาจเป็นเพราะต่อ เวอร์ชั่น 1 ยังอยู่ในลักษณะนะจังงัง

เพราะอยู่ๆก็มีการเอ่ยถึงฝุ่นระดับ 2.5 ไมครอนทั้งๆที่ไปเป็น ประธานในโครงการของโรงเรียนสังกัดกทม.

นั่นก็เพราะ Good Monday ยกบทเรียนมาจากจีน

เพราะอยู่ๆก็มีการเอ่ยถึงความเฟื่องฟูของการท่องเที่ยวทั้งๆที่เป็นประธานในเรื่อง ส.ป.ก.4-10 ที่สระบุรีแท้ๆ

นั่นก็เพราะ Good Monday ยกกรณีดูไบขึ้นมา

สภาพจึงกลายเป็น Good Monday ร้องแล้วก็มีคนรำ เฉิบ เฉิบ ตามไปด้วยมนต์แห่งบทเพลง

 

เพียง 2 ตัวอย่างที่ยกมาระหว่างตอนเช้ากับตอนสายของทุกวัน จันทร์ภายหลังรายการ Good Monday มาระบุก็เด่นชัดยิ่งว่าใครเป็นฝ่ายกำหนดเกม

แน่นอน คนกำหนดและคุมเกมย่อมเป็นเจ้าของรายการ Good Monday

อย่างน้อยก็ทำให้มีคนออกมาแก้ “เกม”

แต่ความน่าสนใจมิได้อยู่กับ “วิสัยทัศน์” หรือ Vision เพียง อย่างเดียว หากที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือ ข้อเสนอเชิงรูปธรรมที่ จะนำไปสู่การปฏิบัติต่างหาก

ตรงนี้แหละที่ยืนยันความแตกต่างระหว่าง “นายห้าง” กับคนซึ่งถูกเรียกว่า “เด็กห่อยา” อย่างที่มีการเปรียบเปรย

ตรงนี้แหละที่ทำให้ “ประชานิยม”ในแบบของพรรคประชาธิ ปัตย์กลายเป็นเรื่องล้มเหลว ตรงนี้แหละที่ทำให้”ประชานิยม”ใน แบบของพรรคพลังประชารัฐกลายเป็นเรื่องน่าหัวร่อ

      ยิ่งทำก็ยิ่งทำให้ไม่เพียงแพ้ต่อพรรคไทยรักไทยหากยังแพ้ต่อ พรรคพลังประชาชนและแพ้ต่อเนื่องมายังพรรคเพื่อไทย

 

เพียง 3 เวอร์ชั่นของรายการ Good Monday จึงไม่เพียงแต่ส่งผลสะเทือนไปยังรายการพูดในตอนค่ำ Friday เท่านั้น แต่หากยังทำให้หลายคนในคสช.และรัฐบาลนั่งไม่ติด

ต้องคอยฟังทุกเช้า และออกมาแก้เกมในตอนสาย

ยิ่งทำยิ่งทำให้เกิดการเปรียบเทียบถึง “กึ๋น”ว่าจะเทียบกับของ Good Monday ได้หรือไม่

คนหนึ่ง “ร้อง” อีกคนเผลอ”รำ”ตามไปด้วยแบบงงๆ