E-DUANG : ประกาศ และคำสั่ง “คสช.” เรื่องของกาละ และ”เทศะ”

หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ประกาศคสช.ฉบับที่ 57 ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง ถือได้ว่าถูกต้อง

เหมาะสมอย่างยิ่งกับสถานการณ์

แม้กระทั่งการลงนามในคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน ก็ถือว่าชอบด้วยเหตุผล

แต่พลันที่มีการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเม ษายน 2560 สายตาก็เริ่มมองไปยังคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558

ยิ่งเมื่อมีการประกาศและบังคับใช้พรป.ว่าด้วยพรรคการ

เมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2560

ทุกสายตาก็เริ่มมองไปยังประกาศคสช.ฉบับที่ 57/2557

 

คำถามที่ตามมาโดยอัตโนมัติก็คือ ทำไมทั้งๆที่ประกาศและบังคับ ใช้รัฐธรรมนูญแล้วจึงยังต้องมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 อยู่

จะมิหมายความว่าคำสั่งหัวหน้าคสช.ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญหรอกหรือ

คำถามที่ตามมาโดยอัตโนมัติคือ ทำไมทั้งๆที่ประกาศและบังคับใช้พรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว เหตุใดจึงยังต้องมีประกาศคสช.ฉบับที่ 57/2557 อยู่

ยิ่งกว่านั้น ยังมีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/

2560 ออกมาอีก

ยิ่งกว่านั้น เมื่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560 ก่อให้เกิดปัญหาเพราะติดอยู่กับ “ล็อก” อีนุงตุงนังตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557

กลับจะมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับใหม่ประกาศออกมาอีก

 

ทั้งหมดนี้จึงไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นว่าประกาศและคำสั่งบางฉบับอาจเหมาะสมในกาละหนึ่ง

แต่เมื่อกาละล่วงไปอาจไม่เหมาะสม อาจแปลกแยก

เพราะว่ามีรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะว่ามีพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว คำถามถึงความเหมาะสมจึงตามมา คำถามถึงการออกคำสั่งเพื่อจัดการกับคำสั่งจึงตามมา

นี่คือลักษณะของวัวที่พันอยู่รอบหลัก”คสช.”ตัวแล้วตัวเล่า

สะท้อนการแก้ปัญหาของคสช.โดยใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ซ้อน คำสั่งหัวหน้าคสช.