E-DUANG : จังหวะก้าว “เสื้อแดง”  เพื่อไทย คำถาม ตรงต่อ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

ท่ามกลางความเห็น”ต่าง”ในเรื่องตำแหน่ง”ประธานสภา”ระหว่างพันธมิตรในแนวร่วมประชาธิปัตย์ที่ลงนามใน MOU เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม มีตัวละครมากมายปรากฏขึ้น

แน่นอน ตัวละครหลักย่อมเป็นวิวาทะระหว่าง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับ น.ต.ศิธา ทิวารี

แต่ภายในกระบวนการเปิด”ข้อมูล”ออกมาว่าสถานการณ์ก่อนถึงเวลา 16.30 น.ของวันที่ 22 พฤษภาคม เป็นอย่างไรก็มีตัวละครอย่างน้อย 2 คนเข้ามาแสดงบทบาท

ตัวละครหนึ่งย่อมเป็น น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล จากพรรคเพื่อไทย ตัวละครหนึ่งย่อมเป็น นายกัณวีร์ สืบแสง จากพรรคเป็นธรรม แม้จะมากด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างสูง

นั่นก็คือ ระบุว่ามีความขัดแย้งอันมีผลทำให้ไม่อาจร่วมลงนามในเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม ตามที่มีการกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า

เนื่องจากมีพรรคการเมืองหนึ่งมีเงื่อนไขเสนอเข้ามามากมายเป็นเงื่อนไขที่ต้องการปรับบางเนื้อหาออกไป หากไม่ยินยอมก็ไม่ยอมลงนามและพร้อมจะถอนตัว

ท่วงทำนองในกระสวนเช่นนี้เริ่มแสดงออกอย่างเปิดเผย

 

แม้คนที่อยู่ในที่ประชุมเมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 22 พฤษภาคม จะไม่ยอมยืนยันว่าเป็นใครและจากพรรคการเมืองใด แต่กระบวน การก็คลี่คลายและปรากฏคำตอบ

บทบาทหนึ่ง คือ บทบาทของ นายอดิศร เพียงเกษ บทบาทหนึ่ง คือ บทบาทของ FC พรรคเพื่อไทย

นายอดิศร เพียงเกษ เสนอปมหนึ่งในท่ามกลางความเรียก ร้องต้องการตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า หากพรรคก้าวไกลไม่ยอมแล้วพรรคเพื่อไทยถอนตัวจะทำอย่างไร

ระยะเวลาเดียวกันนั้นก็มีการเคลื่อนไหวภายใน”ติ่ง”ของพรรคเพื่อไทยนัดชุมนุมใหญ่ทางการเมืองแล้วยื่นข้อเสนอให้พรรค เพื่อไทยแยกตัวออกมาไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาล

ความหมายก็คือ ดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับที่ติ่งของพรรคก้าวไกลเคยเคลื่อนไหวผ่าน#มีกรณ์ไม่มีกู นั่นเอง

 

ความน่าสนใจอย่างยิ่งยวดก็ตรงที่การเคลื่อนไหวของ FCพรรคเพื่อไทยที่จะปรากฏในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม ระบุเป็นการ เคลื่อนไหวของ”คนเสื้อแดง”

เกิดคำถามถึง นายจตุพร พรหมพันธ์ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะมี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยื่นเข้ามาแตะ มีความเป็นได้เพียงใดที่การเคลื่อนไหวนี้จะเกี่ยวข้องกับ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

ถึงอย่างไรก็ก็อ้างอิงอยู่กับ”คนเสื้อแดง” ถึงอย่างไรก็มีรากฐานมาจากสถานะของ”นปช.”

สายตาจึงมอง นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ