E-DUANG : พันธมิตร แนวร่วม ประชาธิปไตย กับ สถานการณ์ เลือกตั้ง ปี 2566

การเลือกตั้งในปี 2562 กับ การเลือกตั้งในปี 2566 มีจุดเปลี่ยนและความแตกต่างอย่างแน่นอน แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังอยู่และต้องการไปต่อ

แม้จะเกิดพรรครวมไทยสร้างชาติเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา

ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ มีความพยายามปรับแต่งและสถาปนาความสัมพันธ์ใหม่ในทางการเมืองอันจะนำไปสู่เงื่อนไขและข้อตกลงใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม

เริ่มจากคำประกาศจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ปฏิเสธสถานะของตนในรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยชี้ตรง ไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ความหรรษาเป็นอย่างยิ่งก็คือ เมื่อสิ้นกระแสความ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยืนและแยกมือยอมรับต่อคำประกาศจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

จากการแสดงตนเช่นนี้เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืน ยันเข้าร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติจึงกลายเป็นความเชื่อ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แยกจากพรรคพลังประชารัฐ

 

จากจุดนี้นำไปสู่การตั้งคำถามถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่บางพรรคการเมืองซึ่งเคยตัดค้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะร่วมรัฐบาล

เป็นการร่วมรัฐบาลกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แรกสุดคือคำประกาศจาก นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์

ต่อมาจึงได้มีการปล่อยข่าวถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดพันธมิตรในแนวร่วมที่พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทยจะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย

รูปธรรมหนึ่งในทางการเมืองก็คือ กระแสต้านการสืบทอดอำ นาจคสช.ที่เคยกระหึ่มในห้วงแห่งการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ก็อ่อนตัวลงอย่างชนิดยวบยาบ

ถามว่าพันธมิตรในแนวร่วม”ประชาธิปไตย”ยังคงอยู่หรือไม่

 

อย่าคิดว่าสภาวะ”อ่อนตัว”ในทางความคิดเช่นนี้ไม่มีผลสะเทือนในทางการเมือง อย่าคิดว่าการแยกตัวระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่มีอยู่จริง

อย่างน้อยอาการบวบยาบในทางความคิดก็เป็นเครื่องฟ้อง

ฟ้องต่อความมุ่งมั่นของพรรคเพื่อไทย ฟ้องต่อความมุ่งมั่นของพรรคก้าวไกล ฟ้องต่อความมุ่งมั่นของพรรคเสรีรวมไทย ฟ้อง ต่อความมุ่งมั่นของพรรคประชาชาติ

ที่เคยจัดตั้ง”แนวประชาธิปไตย”จะยังดำรงคงอยู่หรือไม่