E-DUANG : “โจทย์”แหลมคม ทาง”การเมือง” ท่ามกลาง ชัยชนะของ”เพื่อไทย”

โจทย์ทางการเมืองที่นับวันจะทวีความร้อนแรงและมากด้วยความแหลมคมเป็นอย่างสูง ณ เบื้องหน้าชัยชนะและแนวโน้มที่”แลนด์ส ไลด์”จะเกิดขึ้นจริงในทางการเมือง

คือ ในชัยชนะทาง”การเลือกตั้ง”พรรคเพื่อไทยจะรักษา”อำนาจ”ให้มั่นคงได้อย่างไรโดยไม่ถูก”รัฐประหาร”

“โจทย์”นี้อาจเป็นการตีปลาหน้าไซโดย”ปรปักษ์”การเมือง

เป็นเสียงขู่ต่อ นส.แพทองธาร ชินวัตร โดยยกเอาชะตากรรมของ นายทักษิณ ชินวัตร และชะตากรรมของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นตัวอย่าง

เพราะในชัยชนะอย่างท่วมท้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ก็ลงเอยโดยรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เพราะในชัยชนะอย่าง ท่วมท้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ก็ลงเอยโดยรัฐประหารเดือน พฤษภาคม 2557

กลายเป็นคำถามต่อ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นคำถามต่อพรรคเพื่อไทย ว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อมิให้ประวัติ

ศาสตร์ต้องซ้ำรอยกับ”อดีต”

      ไม่ว่าอดีตจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าอดีต จากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

 

เหมือนกับคำถามนี้จะเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องเป็นผู้ค้นหาคำตอบ เพื่อที่จะทำให้รัฐบาลหลังการเลือกตั้งมีความแข็งแกร่งยั่งยืน

อย่างน้อยเส้นทางของ นส.แพทองธาร ชินวัตร ก็ไม่ต้องเป็น เหมือน “บิดา” ก็ไม่ต้องเป็นเหมือน”คุณอา”

ทั้งๆที่ในความเป็นจริงโจทย์ทางการเมืองนี้ก็เป็นภาระที่ทุกพรรคฝ่าย”ประชาธิปไตย”ไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็น พรรคเสรีรวมไทย ก็ควรจะขบคิดเพื่อหาคำตอบ

และควรจะเริ่มต้นคำถามจากชัยชนะเมื่อเดือนตุลาคม 2516 ไฉนจึงยังมีรัฐประหารในเดือนตุลาคม 2519 และรัฐประหารในเดือนตุลาคม 2520

และควรจะถามต่อไปด้วยว่าจากชัยชนะเมื่อเดือนพฤษภา

คม 2535 ไฉนจึงยังมีรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549

 

ปมเงื่อนสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ เหตุปัจจัยอะไรทำให้”รัฐประ หาร”ยังเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาทางการเมือง และเหตุปัจจัยอะไรทำให้รัฐประหารยังสามารถทำได้

คำตอบ 1 น่าจะมาจาก”รัฐธรรมนูญ”ฉบับนี้ DESIGN มาเพื่อ”พวกเรา”

คำถามก็คือ คำว่า”พวกเรา”หมายถึง “ใคร”

      หากไม่สามารถตีปมอันอยู่ในทาง”ความคิด”และเบื้องหลังการก่อปฏิบัติการทาง”การเมือง”ได้ก็ยากที่จะได้”คำตอบ”