E-DUANG : แนวโน้ม มิติใหม่ ทางการเมือง LGBTQ+ กับ กลุ่มชาติพันธุ์

ไม่ว่านโยบายต่อ 1 LBGTQ+ ไม่ว่านโยบายต่อ 1 กลุ่มชาติพันธุ์ ของแต่ละพรรคการเมือง สะท้อนความหมาย ยืนยันความสำคัญ

ต้องยอมรับว่า LBGTQ ดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน ต้องยอมรับว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน

แต่เพิ่งจะมี”ความหมาย”อย่างเป็นจริงในระยะ”หลัง”

ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อาจมีปรากฏอยู่ในนโยบายของบางพรรคการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อาจมีการเอ่ยถึงและการพยายามมเข้าถึง

ต่อเมื่อหลังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และนำไปสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นการทั่วไปในเดือนมีนาคม 2562 นั้นหรอกจึงเกิด”ปรากฏการณ์”

เป็นปรากฏการณ์ที่มีการนำเอา LGBTQ เข้ามาเป็นสมการหนึ่งในทางการเมือง เป็นปรากฏการณ์ที่มีการนำเอากลุ่ม ชาติพันธุ์มาเป็นพลังขับเคลื่อนในทางการเมือง

สังคมเห็นการประกาศตัวของ LGBTQ และการปรากฏตัวของตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์บนเวทีการหาเสียง

และที่สุดก็ได้รับเลือกเข้าไปเป็น”ผู้แทนราษฎร”ใน”สภา”

 

ทั้ง LGBTQ ทั้ง กลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะเริ่มได้รับการยอมรับผ่านกระบวนการเลือกตั้งผ่านพรรคการเมือง แต่ก็ดำรงอยู่อย่างเป็น

“ส่วนน้อย”บนพื้นที่ทางการเมือง

กระนั้น การดำรงอยู่นั้นก็เป็นการดำรงอยู่อย่างมีพัฒนาการ และเติบใหญ่เป็นลำดับ

สัมผัสได้จาก LGBTQ กลายเป็น LGBTQ +

ยิ่งกว่านั้น เมื่อเห็นการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันร่างกฎหมาย

“สมรสเท่าเทียม”ทั้งบนท้องถนนและในเวทีรัฐสภา ยิ่งก่อให้เกิดภาวะตะลึงตึง

นี่ย่อมเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในการอดีต นี่คือ ภาพแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในทางความคิดและในทางการเมือง

เป็นความคึกคักทั้ง LGBTQ+ และกลุ่มชาติพันธุ์

 

รูปธรรมจึงอยู่ที่ว่าแต่ละพรรคการเมืองมีความกล้าหาญและเล็งผลทางการเมืองจาก LGBTQ+ และกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านมุมมอง อย่างไร

เพียงแต่กำหนด”นโยบาย”แต่มิได้”เข้าหา”อย่างเป็นจริง

แต่ละก้าวย่างนี้จึงอยู่ในสายตาของ LGBTQ+ จึงอยู่ในสายตาของ  กลุ่มชาติพันธุ์ อย่างหนักแน่นและจริงจัง

เมื่อท่านพูด คนจะฟัง เมื่อท่านลงมือทำ คนจะเชื่อถือ