E-DUANG : ศึกษา บทบาท จิตร ภูมิศักดิ์ บนเส้นทาง  “ผู้มาก่อนกาล”

แรกที่ จิตร ภูมิศักดิ์ รับหน้าที่ในฐานะ”สาราณียกร”สโมสรนิสิตจุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดทำวารสาร”มหาวิทยาลัย”ออกมา ในโฉมที่แปลกแตกต่างไปจาก”ขนบ”ที่เคยทำกันมา

กระทั่ง กลายเป็นชนวนสำคัญทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านและนำไปสู่การลงโทษผ่าน”การโยนบก”

ต้องบาดเจ็บ ถูกพักการเรียนและต้องรักษาตัวระยะหนึ่ง

แม้จะมีหนังสือพิมพ์บางฉบับอย่าง”สยามนิกร”รายงานข่าวในลักษณะตั้งข้อสังเกตและแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำ ต่อ จิตร ภูมิศักดิ์ ถึงขั้น”โยนบก”

กระนั้น ความรู้สึก”ร่วม”อย่างหนึ่งก็โน้มเอนไปในทางที่สนับ สนุนการกระทำของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง เพราะ ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ”มหาวิทยาลัย”ในแบบนั้น

นั่นก็คือ ในแบบที่มีบทความวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์และสังคมไทย ชำแหละพุทธปรัชญาอย่างรุนแรง ทั้งที่ จิตร ภูมิ ศักดิ์ เขียนเองและคนอื่น

จำนวนไม่น้อยได้ออกมาเยาะเย้ย ถากถาง จำนวนไม่น้อยได้โจมตีและสะใจเมื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกลงโทษด้วยการพักการเรียน

เมื่อเหตุการณ์ผ่านมาท่าทีต่อ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นอย่างไร

 

อย่าได้แปลกใจหาก อดีตศิลปินแห่งชาติ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ลงความ เห็นอย่างรวบรัดว่า บทบาทของ จิตร ภูมิศักดิ์ ระหว่างเป็นนิสิตจุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย คือบทบาทของ”ผู้มาก่อนกาล”

ดำรงอยู่เหมือนกับ”ศรีปราชญ์”ในยุคอยุธยา ดำรงอยู่เหมือนกับ”เทียนวรรณ”ในยุครัตนโกสินทร์

คำว่า”ผู้มาก่อนกาล”ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สะท้อนออกผ่านกระบวนการวิพากษ์อย่างเข้มงวดและจริงจัง โดยความเชื่อวาง อยู่กับหลักวิชาการและการวิเคราะห์

การทำเช่นนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างเป็นพิเศษเช่นที่ “ศรีปราชญ์”จดจารคำ”เสร็จเสียอาจม”ในกรณียกิจแห่งอุณรุธ เช่นที่”เทียนวรรณ”จดจารคำ”ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ ตามระบอบปาเลียเมนต์ ประเด็นขำ”

ก้าวย่างทั้งหมดนี้มีหรือที่ จิตร ภูมิศักดิ์ จะไม่รู้

 

ไม่ว่าจะมองผ่านกระบวนการของ”ศรีปราชญ์” ไม่ว่าจะมองผ่าน กระบวนการของ”เทียนวรรณ” เมื่อนำมาวางเรียงเคียงกับกระบวนการของ จิตร ภูมิศักดิ์

บทสรุปที่ว่าเป็น”ผู้มาก่อนกาล” จึงถูกต้อง ตรงประเด็น

เบื้องหน้าบทบาทของ”ผู้มาก่อนกาล”เช่นนี้ตั้งแต่ยุคอยุธยามยังยุครัตนโกสินทร์ย่อมเป็น”บทเรียน”

“บทเรียน”สำหรับเราท่านในการพิจารณาบทบาทของ”คน”