E-DUANG : ฉากทัศน์ มุมมอง นักการเมือง ต่อกรณี  “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”

มีทั้ง “ความเหมือน” และ “ความต่าง” ภายในลีลาและอาการของการสำแดงออกระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายสุเทพ เทือก สุบรรณ ในทางการเมือง

ไม่ว่าจะต่อการเข้ามาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ไม่ว่าจะต่อ การเข้ามาของ “คนรุ่นใหม่” บนถนนการเมือง

เป็นความเหมือนที่ยังดำรงอยู่ในลักษณะ”ต่อต้าน”

เพียงแต่เมื่อออกมาจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ไม่ปิดบังอำ พราง สำแดงความเป็นปฏิปักษ์ ไม่อ้อมค้อมที่จะออกมา”ขวาง”อย่างเต็มที่ เต็มแรง

ขณะที่เมื่อออกมาจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะดำรงอยู่ภาย ในกระบวนปรุงแต่งอย่างแยบยล โดยเฉพาะเมื่อเสนอความเห็นต่อบทบาทและการเคลื่อนไหวของ”คนรุ่นใหม่”

ท่าทีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มิได้ปิดประตูไม่ต้อนรับในลี

ลาแบบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ตรงกันข้าม กลับแสดงการเปิดกว้างมากกว่า

ขณะเดียวกัน ก็จริงจังในการ”สื่อ”กับ”คนรุ่นเก่า”ตรงตัว

 

ความเคยชินอย่างหนึ่งก็คือ ความเคยชินที่จะจัดวาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขาธิการพรรค

ภาพอย่างนี้อาจเด่นชัดก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557

แต่ภายหลังจากผ่านการเลือกตั้งอย่างเป็นการทั่วไปในเดือนมี นาคม 2562 บทบาทของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้รับการจัดวาง และปรับภูมิทัศน์ใหม่

ณ วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แยกตัวออกจากจุดเดิมและดำ รงอยู่เหมือนกับ นายอานันท์ ปันยารชุน กำหนด

ท่าทีใหม่นี้จำเป็นต้องศึกษา จำเป็นต้องทำความเข้าใจ

 

ตัวอย่างที่เด่นชัดเป็นอย่างมากก็คือ ถึงอย่างไร นายสุเทพ เทือกสุ บรรณ ก็ติดหนึบอยู่กับการหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างมั่นคง เสมอต้นเสมอปลาย

แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ก้าวพ้นไปแล้ว

เมื่อก้าวพ้นไปจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สายตาที่มองต่อ แต่ละฉากทัศน์ทางการเมืองจึงย่อมจะเปลี่ยนไป

การเปลี่ยนแปลงตรงนี้แหละที่แหลมคมและมีความสำคัญ