E-DUANG : ปัญหา เพื่อไทย ก้าวไกล ราษฎร บนบ่า ของ ณัฐวุฒิ “คนเสื้อแดง”

ยิ่งการถกเถียงในเรื่องของ “คนเสื้อแดง” เพิ่มความสลับซับซ้อนมากเพียงใด การดำรงอยู่ในสถานะแห่งความเป็น”สะพานเชื่อม”ของคน อย่าง “พี่เต้น” ยิ่งทรงความหมาย

คำถามที่ตามมาโดยอัตโนมัติก็คือ สถานะแห่งความเป็น”สะพานเชื่อม”ของ”คนเสื้อแดง”นั้นจะเชื่อมกับใคร

คำถามที่ละเอียดอ่อนยิ่งกว่านั้นก็คือ ใครคือเจ้าของ”เสื้อแดง”

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าจะมองผ่านสัญลักษณ์ของ”เสื้อแดง” ไม่ว่าจะมองผ่านการเคลื่อนไหวของมวลชนที่มี”เสื้อแดง”เป็นจุดร่วมในทางการเมือง

ล้วนแยกไม่ออกไปจากสถานการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

เป็นสถานการณ์รัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

ไม่ว่าการต่อต้านรัฐประหารที่มาจากกลุ่มของ นายสมบัติ บุญ

งามอนงค์ ไม่ว่าการต่อต้านรัฐประหารโดยกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จ การ ในที่สุดล้วนเห็นใจในชะตากรรมของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

นี่คือรากฐานทางการเมืองที่แนบแน่นอยู่กับ”คนเสื้อแดง”

 

ไม่ว่าในที่สุด กระบวนการต้านรัฐประหารและเห็นอกเห็นใจพรรคไทยรักไทยจะค่อยๆพัฒนาเป็น “นปก.” ในเบื้องต้นและกลายเป็น

“นปช.”ในกาลต่อมา

ไม่ว่าจะเป็นยุค นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ไม่ว่าจะเป็นยุค นางธิ ดา ถาวรเศรษฐ์ ก็มี นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ เป็นเส้นไหมร้อยเชื่อมอยู่

ความรับรู้ในทางความคิดของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จึงแจ่มชัด

เป็นความแจ่มชัดที่ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ในสถานะแห่งเลขาธิ การ สามารถรักษาเอาไว้ได้เป็นอย่างดีไม่ว่าหลังรัฐประหาร 2549 ไม่ว่าหลังรัฐประหาร 2557

ทั้งยังได้ตระหนักในบทบาทของ”ราษฎร”ในปี 2563 เรื่อยมา

 

ความเป็น”สะพานเชื่อม”ของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จึงเรียกร้องความ เข้าใจต่อแต่ละกลุ่มในทางการเมืองอย่างแหลมคมเป็นพิเศษ ไม่ว่าต่อพรรคเพื่อไทย ต่อพรรคก้าวไกล และต่อคณะราษฎร

หากไม่มี”คนกลาง”หากไม่มี”สะพานเชื่อม”คงเกิดปัญหา

เป็นปัญหาในสถานะและการเคลื่อนไหวในท่ามกลางความสลับซับซ้อนของกระบวนการประชาธิปไตยอย่างแหลมคมยิ่ง

คำถามอยู่ที่ว่า นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จะคลี่คลายได้อย่างไร