E-DUANG : ผลสะเทือน เวทีดีเบต การเมือง ต่อพลังประชารัฐ จัตุจักร หลักสี่

การที่ “มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ ปฏิเสธเข้าร่วมเวที”ดีเบต”ทางการเมืองติดต่อกันถึง 2 ครั้งจากการเชื้อเชิญของ2 สถานีโทรทัศน์สำคัญ

ไม่เพียงกลายเป็น”คำถาม”ไปยัง “มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ หากแต่ยังพุ่งตรงถึง”พรรคพลังประชารัฐ”

ยิ่งรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งนำเอารูปแบบที่”องค์กรกลาง”ยุค นายสมชัย ศรีสุทธยางกูร เคยนำมาใช้ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกรา คม 2544 ด้วยการเว้น”ที่นั่ง”เอาไว้

ยิ่งทำให้ภาพของ”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ ยิ่งปรากฏอย่างเด่นชัดพลันที่กล้องแพนไปในแต่ละผู้สมัครและเก้าอี้อัน “ว่างเปล่า”ตัวนั้น

มีเหตุผลมากมายที่”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ จะนำมาอ้าง แต่ในที่สุดแล้วก็คือ ความไม่พร้อมต่อคำถามปลายเปิดที่  

จะสาดใส่เข้ามาจากผู้ดำเนินรายการ

จากตัว”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ ก็กระทบถึง นายสิ ระ เจนจาคะ และพรรคพลังประชารัฐในที่สุด

 

เหตุผลอาจจะมาจากความเป็น”คนหน้าใหม่”ในสนามทางการเมืองของ”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ โดยตรง แต่เหตุผลนี้ก็ขาดน้ำหนักและความน่าเชื่อถือ

หากเทียบกับ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี หากเทียบกับ นายนายสุรชาติ เทียนทอง อาจเป็นเช่นนั้น

กระนั้น หากนำเอา”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ มาวาง เรียงเคียงข้างกับ นายกรุณพล เทียนสุวรรณ จากพรรคก้าวไกล ก็มิได้มีความแตกต่างกัน

ตรงกันข้าม “มาดามหลี”นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ มีจุดแข็งเหนือ กว่าตรงที่เคียงบ่าเคียงไหล่ในการทำงานการเมืองมากับ นายสิระ เจนจาคะ มามากกว่า นายกรุณพล เทียนสุวรรณ ด้วยซ้ำไป

 

การปฏิเสธการเข้าร่วมในเวที”ดีเบต”การเมืองของ”มาดามหลี”นาง สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ อาจเป็นไปตามคำชี้แนะจากเกจิการเมืองคนใด ก็ตามอาจเอาตัวรอดได้ในระยะสั้นเฉพาะหน้า

แต่มองระยะยาวก่อนวันที่ 30 มกราคม ไม่น่าจะเป็นผลดี

ไม่ว่าจะเป็นผลดีต่อ”มาดามหลี” นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ ไม่ว่าจะเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคพลังประชารัฐ

เว้นแต่พรรคพลังประชารัฐจะมี”ทีเด็ด”อันเร้นลับสุดวิเศษอยู่