E-DUANG : การปะทะ “ขัดแย้ง” ทางความคิด ความเป็นจริง ของสมรส เท่าเทียม

พลันที่คำวินิจฉัยเป็นรายตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วย”สมรสเท่าเทียมกัน”ปรากฏออกมา ก็ปรากฏ”ปฏิกิริยา”ในทางสังคมโต้กลับต่อคำวินิจฉัยด้วยความร้อนแรง

ร้อนแรงอย่างชนิดคำต่อคำ นาทีต่อนาที ส่งผลให้ติดอันดับ 1 ใน 10 เทรนด์ทวิตเตอร์ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อมา

นี่มิได้เป็นเรื่องอันนอกเหนือไปจากความคาดหมาย

ทุกอย่างดำเนินไปตามบทสรุปอันเฉียบขาดของนักกฎหมาย หลายคนต่อหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คร่ำหวอดอยู่ในสายสิทธิ มนุษยชน

นั่นก็คือ คำวินิจฉัยโดยละเอียดจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นเองเป็นเครื่องฉายชี้ให้เห็นแนวทางและการดำรงอยู่ในทางความ คิดของตุลาการและลักษณะของศาลโดยองค์รวม

ไม่ว่าจะเป็นคำวินิจฉัยอันเกี่ยวกับ”ปฏิรูป”หรือว่า”ล้มล้าง”  ไม่  

ว่าจะเป็นคำวินิจฉัยอันสัมพันธ์กับ”สมรสเท่าเทียมกัน”

โดยเฉพาะเมื่อปรากฏขึ้นขณะที่การล่ารายชื่อแก้กฎหมายเพื่อนำไปไปสู่”สมรสเท่าเทียมกัน”กำลังมากด้วยความร้อนแรง

 

ในบรรยากาศแห่งความขัดแย้งในทางความคิดซึ่งสัมพันธ์อยู่กับความต้องการในเรื่อง”สมรสเท่าเทียมกัน”ภาพยนตร์เรื่อง”สตรีพลิก โฉมโลก”หรือ On the Basis of Sex ก็ทะยานขึ้นมา

นี่เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงในยุค 1979 ในสังคมอเมริกันจากเรื่องราวการต่อสู้ของทนาย รูธ กินสเบิร์ก

โดยเฉพาะคำแถลงตอนหนึ่งของเธอต่อศาล

“ศาลที่เคารพ เราไม่ได้ขอให้ท่านเปลี่ยนประเทศนี้ มันเปลี่ยน ไปเรียบร้อยแล้วโดยไม่ต้องรอให้ศาลอนุญาต แต่ที่เรากำลังขอจาก ท่านก็คือ ขอให้ช่วยปกป้องสิทธิของประเทศในการเปลี่ยนแปลงนี้”

บทบาทของ รูธ กินสเบิร์ก แห่งสหรัฐจึงมิได้แตกต่างไปจากบท 

บาทของ LGBT ของไทยที่เรียกร้องในเรื่อง”สมรสเท่าเทียม”

 

สภาพความเป็นจริง ไม่ว่าในสังคม”โลก” ไม่ว่าในสังคม”ไทย”นั้นสัม ผัสได้อย่างเด่นชัดว่า การเปลี่ยนแปลงได้ก้าวล้ำไปจากความรับรู้และความเข้าใจของตุลาการและศาล

ขณะที่ตุลาการและศาลยังตรึงตัวเองแน่นอยู่ ณ ที่เดิม

สัญญาณอันปรากฏในระดับ”โลก” และที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 มายังปี 2564

แสดงอย่างแจ้งชัดว่าอาจจะ”ฟัง” แต่ไม่เคย”ได้ยิน”