E-DUANG : บทเรียน ผลสะเทือน #ศีตลา ปฏิบัติการ ขุดค้น “การเมือง”

หากกรณีการเดบิวต์ของ “ศีตลา”มิได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในบรรยา กาศแห่งการตายของจอมเผด็จการ ชุน ดู ฮวาน แห่งเกาหลีใต้ # ว่าด้วย”ศีตลา”และ”แบนลูกหนัง”สามารถทะลุทะลวงขึ้นมาได้หรือไม่

ทะลุทะลวงถึงขนาดติดอันดับ 1 ใน 10 ของเทรนด์ทวิตเตอร์ ยิ่งเมื่อผนวกทะหวีดของทั้ง 2 # เข้าด้วยกันก็มากกว่า 2 ล้าน

นี่ย่อมเป็นปฏิบัติการในลักษณะสวนกับ”แก้ไขไม่แก้แค้น”โดย ตรง ไม่ว่าจะมองในเรื่องของการเมือง ไม่ว่าจะมองในเรื่องของด้อม เกาหลีที่ยึดครองเทรนด์ทวิตเตอร์อยู่ก็ตาม

เพราะกรณีของ ชุน ดู ฮวาน เสมอเป็นเพียงความสัมพันธ์อันโยงมาจากเกาหลีภายใต้รูปโฉมแห่งการเป็นเผด็จการซึ่งมีรากฐาน มาจากการเป็นทหาร

จึงไม่ยากที่จะเชื่อมร้อยเข้ากับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประ ชาชนเพื่อประชาธิปไตยอันมีส่วนอย่างสำคัญในการปูทางและสร้าง

เงื่อนไขให้เกิดรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ตรงนี้เองที่ทำให้กรณีของ”ศีตลา”ทวีความร้อนแรงกระทั่งแตกแบรนด์ไปสู่#แบนลูกหนังได้อย่างคึกคัก ร้อนแรง

 

พลันที่เกิดปรากฎการณ์”ศีตลา”สิ่งที่ตามมาโดยอัตโนมัติก็คือการขุดคลิปเก่าของคำปราศรัยออกมาอย่างครบถ้วนว่ามีการพูดอย่างไร มีการแสดงบทบาทอย่างไร

จึงไม่เพียงแต่บิดาของ”ศีตลา”เท่านั้นที่ตกเป็น”จำเลย”และส่งผลสะเทือนมาถึง”ลูกสาว”

หากแต่ละบทบาทของ”แกนนำ”อันเป็น”ตัวละคร”สำคัญในการสร้างรอยแค้นและผลสะเทือนต่อเนื่องในทางการเมืองก็ล้วนถูกขุดขึ้นมาประจานกันอย่างถ้วนหน้า

ในกาลอดีตอาจขุดแต่เพียงบางถ้อยคำและคำพูดซึ่งจดจารผ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือ แต่สำหรับยุคใหม่ก็เป็น”คลิป”มีเสียง   

และภาพสดใสเปี่ยมด้วยชีวิตและวิญญาณครบถ้วน

 

พลันที่ปรากฎการณ์”ศีตลา”ได้บังเกิดสังคมก็พอคาดหมายได้เลยว่า บรรยากาศทางการเมืองนับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นบรรยากาศแห่งการคิดบัญชีกันทุกเม็ด ไม่มีเว้น

ไม่ว่าจะก่อนเดือนกันยายน 2549 ก่อนเดือนพฤษภาคม 2557

ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงของ”นักรัฐประหาร” ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงของ”นักเคลื่อนไหว”ทางการเมือง

ยิ่งเข้าสู่โหมด”การเลือกตั้ง”ยิ่งมากด้วยความรุนแรง แหลมคม