E-DUANG : ฐาน เศรษฐกิจ “กลุ่มนักเรียนเลว” กับ รูปธรรม กัมมันตะ เคลื่อนไหว

หากถือว่าการปล่อย”คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน”เมื่อวันที่ 21 พฤศจิ กายน ของ”กลุ่มนักเรียนเลว” เป็นการเปิดตัว ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการปิดตัวซึ่งประสบความสำเร็จ

เพราะเพียงวันแรกในการเปิดตัวก็มีผู้แสดงความต้องการหนังสือ “คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน”ถึง 11,403 ราย

ตามมาด้วยจำนวน 14,378 ในวันที่ 2

และเมื่อเข้าวันที่ 3 ก็มีผู้แสดงความจำนงถึง 16,983 ในวันที่ 3 และเท่าที่มีการเปิดเผย เมื่อถึงวันที่ 3 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน จำนวนก็ทะยานไปถึง 17,941 ราย

หากมองจากพื้นฐานที่ “กลุ่มนักเรียนเลว” ยังเป็นเด็กนุ่งกางเกงขาสั้น และสวมเสื้อคอซอง จำนวนผู้ต้องการหนังสือที่มากถึง 4 หมื่นกว่ารายภายใน 4 วันถือว่าร้อนแรง

ยิ่งมองลึกลงไปใน”ฐานการเงิน”จะยิ่งสร้างความตื่นตระหนก

เพราะเมื่อเป็นหนังสือก็ต้องมีการตีพิมพ์ และเมื่อตีพิมพ์ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการส่งไปยังเป้าหมายในขอบเขตทั่วประเทศ

คำถามก็คือ “กลุ่มนักเรียนเลว”ระดมเงินทุนมาได้อย่างไร

ต้องยอมรับว่าบทบาทของ”กลุ่มนักเรียนเลว”ที่แสดงออกอย่างมีลักษณะเป็น”กัมมันตะ”ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นบทบาทที่ดำ รงจุดมุ่งหมายและการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็นในยุคของ นายณัฐฑล ทีปสุวรรณ ไม่ว่าจะเป็นใน ยุคของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะต่อเนื่องและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกผ่าน”โซเชียล มีเดีย” ไม่ว่าจะเป็นการปล่อย”คลิป”ออกมาอย่างเร้าเรียกความสนใจ

หากมองอย่างเปรียบเทียบกับความโบราณและหยุดนิ่งจากด้านของ น.ส.ตรีนุข เทียนทอง ก็ต้องยอมรับว่าน้องๆ”นักเรียนเลว”

คืบล่วงหน้าไปหลายหมื่นลี้ยิ่งในโลกของ”โซเชียล มีเดีย”

ยิ่งเมื่อนำเอาบทบาทและการเคลื่อนไหวประสานกับการดำรงอยู่ในแบบ”กัมมันตะ”ก็ต้องยอมรับว่า “กลุ่มนักเรียนเลว”ได้รับการสนับสนุนจากสังคมอย่างแข็งแรง

ไม่ว่าในทาง”ความคิด” ไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือ”เงินทุน”

เพราะหากไม่มีฐานการสนับสนุนในทางเศรษฐกิจและการเมือง ที่แข็งแกร่งก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะยืนระยะอยู่ได้เป็นปี

ทั้งๆที่ในความเป็นจริงก็มาจากเงิน”บริจาค”ทั้งสิ้น