E-DUANG : คำถาม คมแหลม ประชาธิปัตย์ คำถาม จากท่าทีต่อ รัฐธรรมนูญ

การตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ในกรณี”ไม่รับร่าง”แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญซึ่งผลักดันเข้ามาโดย”รี-โซลูชั่น”และประชาชนกว่า 1 แสนคน ถือได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่โลดโผน

ไม่เพียงแต่ปัดความตั้งใจดีซึ่งมาจาก นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

หากยังเท่ากับเป็นการมองไม่เห็นบทบาทและความหมายของ นายกษิต ภิรมย์ ที่เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มองข้ามความหมายของ นายฟูอาดี้ พิศสุวรรณ

แม้ว่า นายฟูอาดี้ พิศสุวรรณ จะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของ นายสุ รินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์

น่าเชื่อว่าจากการตัดสินใจครั้งนี้แม้กระทั่งอดีตหัวหน้าพรรคอย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลึกๆก็บังเกิดความตระหนกอย่างใหญ่

หลวงในทางการเมือง

นั่นก็เห็นได้จากการตัดสินใจงดออกเสียงของ นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ และท่าทีห่วงใยอันมาจาก นายเทพไท เสนพงศ์

 

หากศึกษาบทเรียนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะในห้วงหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2490 จะเห็นถึงเจตนาและเป้าหมายอันลึกซึ้งในทางการเมือง

ที่สามัคคีกับคณะรัฐประหารก็เพื่อจะช่วงชิง 1 การได้เป็นรัฐบาล 1 การใช้อำนาจเข้าไปจัดการกับปรปักษ์ทางการเมือง

นั่นก็เห็นได้จากการรุกไล่ต่อกลุ่ม นายปรีดี พนมยงค์

นั่นก็เห็นได้จากการอาศัยกระบวนการของคณะกรรมการยก ร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปสถาปนารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2490 วางแนวทางของ”ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

คำถามก็คือ การตัดสินใจในเดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นการ 

ย้อนกลับไปยัง”อดีต”หรือว่าเป็นการปฏิเสธ”อนาคต”

 

คำถามนี้กล่าวสำหรับ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ นายฟูอาดี้ พิศุวรรณ อาจมิได้ต้องการคำตอบอีกแล้ว แต่ก็เป็นคำถามที่สำคัญ สำหรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นั่นก็คือ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 พรรคประชาธิปัตย์จะฉวย คว้าโอกาสจากนักรัฐประหารเหมือนกับเดือนพฤศจิกายน 2490 หรือ

เพราะคำตอบจากประชาชนจะเห็นได้ในอนาคตอันใกล้