E-DUANG : แปร การทหาร เข้าสู่ การเมือง พลิกสถานการณ์ “รับ”เป็น”รุก”

ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ล้วนเป็นทหาร

เติบโตมาบนเส้นทางสายทหาร มิใช่การเมือง

ไม่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่ว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหม เผ่า ล้วนเป็นทหาร

เติบโตมาบนเส้นทางสายทหาร มิใช่การเมือง

ความสันทัดและความเคยชินโดยพื้นฐานจึงเป็นความสันทัด ทางด้านการทหาร มิใช่ทางการเมือง

การสัประยุทธ์ หักโค่น จึงติดความเคยชินทางด้านการทหาร

เหมือนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จัดการกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ก็อาศัยความเฉียบขาดในแบบ ทหารจัดการอย่างฉับพลันทันใด

เปิดเกม “รุก”โดยมิให้อีกฝ่ายสามารถ”ตั้งรับ”ได้ทันท่วงที

สถานการณ์หลังวันที่ 9 กันยายนจึงเป็นสถานการณ์อันเป็นผล มาจากมาตรการ”การทหาร”อันส่งผลสะเทือนด้าน”การเมือง”

 

มาตรการทาง”การทหาร”มีผลในลักษณะแตกหัก เฉียบขาด ใครรุก ใครตั้งรับ ชัยชนะอยู่ในมือของใคร ทุกอย่างมิได้สลับซับซ้อนเหนือ ความคาดหมาย

แต่พลันที่มาตรการ”ทางทหาร”เข้าไปอยู่ในพรมแดนที่เรียกว่า ทาง”การเมือง”ความสลับซับซ้อนก็บังเกิด

ใครจัดเจนทาง”การเมือง”มากกว่าย่อมมี”โอกาส”มากกว่า

ถามว่าทำไม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงต้องรีบชิงประกาศลา ออกก่อนประกาศให้พ้นจากตำแหน่งจะปรากฏ นั่นคือ ความพยายามทางการเมือง

ถามว่าทำไม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงคืนสู่พะเยา บ้านเกิด นี่ เท่ากับประสานการทหาร”เข้ากับ”การเมือง”

 

การสัประยุทธ์นับแต่วันที่ 9 กันยายนระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงเป็นเรื่อง”การเมือง”

แต่ละจังหวะก้าวทั้งใต้ดิน บนดินจึงเพิ่มความสลับซับซ้อน

ไม่ว่าจะเป็นการรุกอย่างต่อเนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งรับจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า

คำถามอยู่ที่ว่าใครจะรุก ใครจะพลิกจากรับเป็นรุก