E-DUANG : ลั่นระฆัง แจ้งชี้ดีเดย์ วันเผด็จศึก เครือข่าย ไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทำไมปฏิบัติการตอนต่อของ”คาร์ม็อบ”เวอร์ชั่น”ดี-เดย์”จึงเลือกเอา สถานีบีทีเอส อโศก เป็นเป้าหมายแรกในการปักหมุด ณ วันพฤหสบดีที่ 2 กันยายน

คำตอบ 1 อาจเท่ากับเป็นการขยายรหัสอันส่งมาจาก นายณัฐ วุฒิ ไสยเกื้อ ในเบื้องต้นที่ว่า “ใจกลางมหานคร”

กระนั้น คำตอบ 1 ซึ่งน่าจะเป็นความประทับใจเป็นอย่างสูงจากประสบการณ์”ตรง”ของ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นั่นก็คือ เป็น สถานีที่เคยเข้าไปสัมพันธ์อยู่บ้างในห้วงแห่ง”แฟล็ชม็อบ”

มิได้เป็นการเข้าร่วมในสถานะของ”แกนนำ” ทั้งมิได้เป็นการเข้า ร่วมในสถานะของ”แกนนอน” ตรงกันข้าม เป็นการเข้าร่วมในสถานะ ของ”ผู้สังเกตการณ์”

ยิ่งกว่านั้น หากมองจากประสบการณ์”ตรง”ของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ สี่แยกอโศกก็อยู่ไม่ห่างจากแยกราชประสงค์มากนัก

กลิ่นอายและความคึกคักจากแยกประสงค์ย่อมกรุ่นโชยมา

เป็นการกรุ่นและโชยมาเคล้ากับประสบการณ์การเคลื่อนไหวในแบบของ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ กับ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

 

ต้องยอมรับว่าความจัดเจนตลอดปี 2563 ในยุคแห่ง”แฟล็ชม็อบ”สะ ท้อนความจัดเจนที่ยึดกุมเส้นทางของสถานีรถไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแยกปทุมวัน แยกลาดพร้าว แยกบางเขน

นั่นเนื่องจากการจุดประกาย”แฟล็ชม็อบ”ครั้งแรกในเดือนธันวา คม 2562 มาจากแยกนนทรีอย่างสวยสดงดงาม

เสียงร้องตะโกน”ออกไป ออกไป”ดังกึกก้องตลอดแนวชุมนุม

ขณะเดียวกัน ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือการดี-เดย์ของขบวนการ”คาร์ม็อบ”ที่เริ่มปักหมุดตั้งแต่วันพฤหสบดีที่ 2 กันยา ยนนั้นจะดำเนินไปในลักษณะยืดเยื้อและยาวนาน

ยังไม่มีการประกาศว่าการชุมนุมในวันศุกร์ที่ 3 จะเป็นพื้นที่ใด

แม้ว่าจะมีสารจาก”แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม”ส่งมาแล้ว

 

หากมองผ่าน นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ อาจก่อให้เกิดนัยประหวัดไปยังคนเสื้อแดง และทะลุถึง”รวมพลังประชาชน รวม พลไล่ประยุทธ์”

ขณะเดียวกัน หากมองผ่าน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก็ไปไกล

ไกลจากสถานีบีทีเอสอโศกไปยังแยกนนทรี ไปยังแยกปทุมวัน ไปยัง 5 แยกลาดพร้าว ไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

นี่คือการประสานพลังครั้งใหญ่ไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา