E-DUANG : พื้นที่ ออนไลน์ พื้นที่ของ”ราษฎร” สมรภูมิ ความคิด และ การเมือง

หากดูจากการเคลื่อนไหวอันเกิดขึ้นตลอดครึ่งเดือนมกราคม 2564 เป็นต้นมา เด่นชัดว่า แม้จะมีการติดป้ายกระดาษ ติดป้ายผ้า ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าในกทม. ไม่ว่าในแต่ละจังหวัด

กระนั้น การดำรงอยู่ของการเคลื่อนไหวก็มิได้เป็นการดำรงอยู่ในลักษณะ”สถิต” หากแต่ดำเนินไปอย่างมี “พลวัต”

เป้าหมายอย่างแท้จริงของการเคลื่อนไหวอยู่ที่ “ออนไลน์”

ต้องยอมรับว่ารูปแบบการเคลื่อนไหวของ”ราษฎร”ระยะหลังเป็นการเลียนแบบการเคลื่อนไหวในห้วงหลังรัฐประหารเมื่อเดือนกัน ยายน 2549 และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

นั่นก็คือ การเคลื่อนไหวผ่านรูปการจัดทำปฏิทินในเทศกาลปีใหม่ นั่นก็คือ การเคลื่อนไหวผ่านรูปการผลิตประดิษฐ์สร้างขันแดงในเทศกาลตรุษสงกรานต์

เมื่อมีการเคลื่อนไหวและปรากฏเป็นข่าวผ่านหนังสือพิมพ์ อุป กรณ์มในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นปฏิทิน ไม่ว่าจะเป็นขันก็ถูกจับ

จึงเป็นการเคลื่อนไหวให้เป็นข่าวผ่าน”หนังสือพิมพ์”เป็นสำคัญ

 

มาถึงยุคของ”เยาวชนปลดแอก”ที่ยกระดับและพัฒนากลายเป็นยุคของ “คณะราษฎร 2563” ด้านหลักของการเคลื่อนไหวเริ่มต้นในแบบเป็นจรยุทธ์ ลงทุนน้อย

อย่างเช่นการเขียนลงบนแผ่นกระดาษแล้วแปะตามจุดต่างๆ การเขียนบนแผ่นป้ายแล้วนำไปแขวน

ไม่ว่าที่ปรากฏในกทม. ไม่ว่าที่ปรากฏในต่างจังหวัดอย่างเช่น ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย ก็จะถูกตำรวจตามเก็บอย่างรวดเร็ว

กระนั้น ที่แพร่หลายมากยิ่งกว่าในเบื้องต้นอาจเป็นหนังสือพิมพ์ แต่ต่อมาพื้นที่ที่ได้รับการกระจายออกไปกลับเป็นในโลกออนไลน์ ซึ่งดำรงอยู่อย่างยาวนานมากกว่า

ระยะหลังเมื่อเริ่มมีการแฮ็กเข้าไปในบางจุด บางพื้นที่ยิ่งสร้าง ความตื่นตระหนกเป็นอย่างสูงในทางการเมือง

กระนั้น พื้นที่ที่สามารถเบียดแทรกเข้าไปก็คือ “ออนไลน์”

 

ยิ่งเข้าสู่เดือนมกราคม 2564 เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด การเคลื่อนไหวผ่านรูปการชุมนุมอาจไม่สะดวก จึงขยายไปสู่การขับ เคลื่อนทางโลกออนไลน์อย่างคึกคัก

การเปิดเพจ”ราษฎร” พร้อมกับการตั้ง รุ้ง ปภัสยา ให้ทำหน้าที่โฆษกราษฎรจึงถือเป็นอีกจังหวะก้าวหนึ่ง

จังหวะก้าวเพื่อยืนยันว่ากระแส”ราษฎร”มิได้แผ่วหากแต่คึกคัก