E-DUANG : รัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอำนาจ แต่”ปกครอง”ไม่ได้

ทั้งๆที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่รุ่งสาง ของวันที่ 15 ตุลาคม

เหตุใดในตอนค่ำของวันที่ 16 ตุลาคมจึงยังมีการนัดชุมนุมในพื้นที่ของแยกปทุมวัน ย่านสยามสแควร์

ทั้งๆที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินลงมือสั่งการให้ตำรวจคอมมานโดหน่วย ปราบจลาจลสลายการชุมนุมในคืนวันที่ 16 ตุลาคม

เหตุใดในตอนเย็นของวันที่ 17 ตุลาคมจึงมีการชุมนุมกันที่ห้าแยกลาดพร้าว ที่วงเวียนใหญ่ บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน และที่อโศกมนตรี

เหตุใดในตอนเย็นของวันที่ 18 ตุลาคมจึงมีการชุมนุมกันที่อนุ สาวรีย์ประชาธิปไตย เหตุใดในตอนเย็นของวันที่ 19 ตุลาคมจึงมีการ ชุมนุมที่แยกเกษตร บางเขน

ไม่ว่าที่ห้าแยกลาดพร้าว ไม่ว่าที่โดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไม่ว่าที่แยกเกษตร บางเขน ล้วนเป็นการชุมนุมระดับเบิ้ม

 

สถานการณ์การสลายการชุมนุมในตอนค่ำของวันที่ 16 ตุลาคม สถานการชุมนุมต่อเนื่องในวันที่ 17 วันที่ 18 ตุลาคม มีการถ่ายทอด ออกทางประชาคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง

ทั้งๆที่มีการขู่จากตำรวจว่าการเซลฟี่หรือโพสต์ข้อความเล่าเรื่องราวการชุมนุมเป็นความผิด

จึงมีความพยายามจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการตราคำสั่งตามอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงงที่จะเล่นงานสื่อออนไลน์

แต่ผลที่ปรากฏในวันที่ 19 ตุลาคม บรรดาสื่อออนไลน์ทั้งหลายต่างทำหน้าที่ของตนเหมือนที่เคยทำมา ไม่ว่าวอยซ์ ทีวี ไม่ว่าประชาไท ไม่ว่าเดอะแสตนดาร์ด

ไม่มีแห่งใดปฏิบัติตามคำขู่ ไม่มีแห่งใดปฏิบัติตามคำสั่ง

สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการอันมาจากประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงแทบไม่มีความหมายใดในทางเป็นจริง

 

เสียงเรียกร้องจึงดังกึกก้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้น ร้ายแรง ให้ยกเลิกมาตรการอันตามมาในเรื่องจำกัดเสรีภาพสื่อ

ยืนยันว่ารัฐบาลมี”อำนาจ”แต่ไม่สามารถ”ปกครอง”ได้

การแข็งขืนต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงจึงปรากฏ ให้เห็นตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคมเป็นต้นมา