E-DUANG : แผนลึก สกัดกั้น การชุมนุม 19 กันยายน ณ ท่าพระจันทร์

หากศึกษาจากการจับกุม นายอานนท์ นำภา เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม เปรียบเทียบกับการจับกุม นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ เมื่อวันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม

สำแดงชัดว่า “ยุทธวิธี”ในการจับกุมยังไม่แปรเปลี่ยน ขณะเดียวกัน “ยุทธศาสตร์” ก็ยังไม่แปรเปลี่ยน

เป้าหมายยังเพื่อสกัด ยังเพื่อขัดขวาง”การเคลื่อนไหว”

อาศัยความจัดเจนในแบบ”ตำรวจ”เพื่อสร้างความยุ่งยาก สร้าง ความลำบากให้กับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น นายอานนท์ นำภา ไม่ว่าจะเป็น นายพริษฐ์ ชิวารักษ์

เห็นได้จากการจับในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม เพื่อสกัดการชุมนุมในวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

เห็นได้จากการจับในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม เพื่อสกัดการชุมนุม ในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราช ดำเนิน

คำถามก็คือ ยุทธวิธีการจับกุมเช่นนี้สามารถบรรลุเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ได้ด้วยความราบรื่นหรือไม่

 

ตัวอย่างที่เห็นได้จากการชุมนุม ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม เด่นชัดอย่างยิ่งว่า ประสบความล้มเหลว

เพราะว่าเป็นครั้งแรกที่มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมแตะไปยังปริมาณ”เรือนหมื่น”

เช่นเดียวกับการจับกุมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม

ปรากฏว่าไม่เพียงแต่ นายอานนท์ นำภา และ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จะได้รับการปล่อยตัวโดยศาลยุติธรรม หากแต่ยังทำให้จำนวนคนเข้าร่วมบนถนนราชดำเนินทะยานเข้าสู่เรือนหลายหมื่น

สะท้อนให้เห็นว่า การจับกุมบุคคลที่ประเมินว่าเป็น”แกนนำ”เพื่อสกัดขัดขวางการชุมนุมกลายเป็นยุทธวิธีที่ล้มเหลว เพราะไม่สา มารถลดทอนจำนวนผู้เข้าร่วมได้

ในที่สุดก็กลายเป็นว่าทุกคนที่เข้าร่วมในการชุมนุมและเคลื่อนไหวล้วนดำรงอยู่ในสถานะแห่ง”แกนนำ”

 

น่าจับตาว่าก่อนการชุมนุมใหญ่ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน ณ มหาวิท ยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จะบังเกิดขึ้นในทางเป็นจริงอำนาจรัฐจะใช้กลยุทธ์ใดในการสกัดขัดขวาง

ที่หยั่งเชิงก็คือ การอาศัยหมายจับจากสน.คลองหลวงเล่นงาน นายภาณุพงศ์ จาดนอก

เป็นมูลกรณีจากการชุมนุม ณ ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต