E-DUANG : เผือกร้อน เสียบบัตร อิลลูมินาติ ในมือศาลรัฐธรรมนูญ และกกต.

หากถามว่า ทั้งๆที่กรณีเสียบบัตรแทนกันมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม นูญที่ 3-4/2557 อยู่แล้วอย่างเด่นชัด

แล้วทำไมคนจึงคิดว่าร่างพรบ.งบประมาณจะ”รอด”

ไม่ว่า นายวิษณุ เครืองาม ไม่ว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ล้วนสร้าง ความหวัง ความเชื่อมั่นในลักษณะที่ว่าร่างพรบ.งบประมาณไม่เหมือน กับกรณีพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

เช่นเดียวกับ ทั้งๆที่กรณี “คดีอิลลูมินาติ” ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ออกมาวินิจฉัยยกคำร้องตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มกราคม รับรู้กันอย่างกว้างขวาง

แล้วทำไม นายณัฐพร โตประยูร จึงนำคำร้องเดียวกันนี้ไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เพื่อนำไปสู่การยุบพรรคอนาคตใหม่

นี่จะมิได้กลายเป็นการยื่น”เผือกร้อน”ซ้ำแล้วซ้ำเล่าดอกหรือ

 

หากการยื่นเรื่องกรณีเสียบบัตรแทนกันไปยังศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพลิกฟื้นบทบาทและความหมายของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-4/ 2557 ให้หวนกลับมาอีก

การยื่นสำนวน”คดีอิลลูมินาติ”ไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็ เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสดๆร้อนๆขึ้นมา

ในฐานะทนาย ในฐานะอดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายณัฐพร โตประยูร ไม่ตระหนักในความเป็นจริงที่คำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กรหรอกหรือ

คำถามนี้สำคัญเป็นอย่างมาก ในอีกด้านไม่เพียงแต่ทำให้กรณีเสียบบัตรในอดีตได้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกหน หากแต่ยังทำให้”คดีอิลลูมิ นาติ”ไม่ยอมจบ

ทั้งๆที่คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 21 มกรา คม มีความแจ่มชัดอย่างที่สุด

 

ผลจากกรณีเสียบบัตรแทนกัน ผลจากกรณี”คดีอิลลูมินาติ”ทำให้ศาล รัฐธรรมนูญได้รับความสนใจจากสังคมขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง

ทำให้กกต.ได้รับความสนใจขึ้นมาเป็นอย่างสูง

คำถามก็คือ กกต.จะมีความเห็นอย่างไรต่อคำร้องอันมาจาก นายณัฐพร โตประยูร

คำถามก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร

ความร้อนแรงอย่างยิ่งนอกเหนือจากคำวินิจฉัยยังอยู่ที่วิธีวิทยา ทั้งของศาลรัฐธรรมนูญและกกต.ว่าจะเขียนออกมาอย่างไร

จึงจะสามารถสร้างความชอบธรรมให้บังเกิดกับการตัดสินใจ

      เหตุผลอันเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ กระบวนการเขียนและให้คำอธิบายต่างหากคือความน่าสนใจสูงสุด