E-DUANG : การเมือง ในห้วง 1 ทศวรรษ ​​​กับ ปัจจัยใหม่ “เทคโนโลยี”

เหตุปัจจัยอะไรทำให้สถานการณ์”การประชุมรัฐสภา”เพื่อแถลง นโยบายของรัฐบาลมีความร้อนแรง

1 ปัจจัยจาก”ฝ่ายค้าน”

ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งทวีความสำคัญและแหลมคมมากยิ่งขึ้นเป็นอย่างสูง คือ ปัจจัยจาก”เทคโนโลยี”

ฝ่ายค้านนั้นยากยิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้

เพราะพรรคเพื่อไทยคืออวตารอันสืบเนื่องมาจากพรรคพลังประชาชน พรรคไทยรักไทย

ขณะที่พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย ก็มีสายสัมพันธ์อยู่กับพรรคเพื่อไทยแนบแน่น

พรรคอนาคตใหม่ก็มาพร้อมกับปัจจัยใหม่ทางการเมือง

 

คำถามก็คือ ปัจจัยใหม่ทางการเมืองมีองค์ประกอบมาจาก 2 ส่วน สำคัญ

1 คือ ปัจจัยอันเนื่องแต่สถานการณ์ในห้วง 1 ทศวรรษ

นั่นก็คือ สถานการณ์รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับสถานการณ์รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557

พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย

ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าพรรคเสรีรวมไทย ไม่ว่าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าพรรคประชาชาติ ไม่ว่า พรรคเพื่อชาติ ไม่ว่าพรรคพลังปวงชนชาวไทย

ล้วนเป็นผลและความต่อเนื่องมาจากสถานการณ์รัฐประหาร อันเป็นปัจจัยที่ดำรงอยู่และสร้างสถานการณ์ใหม่ทางการเมือง

ขณะเดียวกัน 1 ปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เติบใหญ่

ตัวอย่างอันเด่นชัดก็คือ โลกอินเตอร์เน็ตที่คึกคักเป็นอย่างมากในห้วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา และทำให้การเคลื่อนไหวและการแสดงออกที่เสรีมากยิ่งขึ้น

ทำให้การปิดกั้นข่าวสารและข้อมูลเป็นเรื่องยากลำบาก

 

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าฝ่ายค้าน จึงมิอาจรอดพ้นไปจาก 2 ผลสะ เทือนใหญ่ในทางการเมืองและในทางเทคโนโลยีไปได้

การประชุมรัฐสภาแต่ละนัดจึงกลายเป็นเวทีเปิด

ให้กับฝ่ายของรัฐบาล ให้กับฝ่ายของฝ่ายค้าน ที่สำคัญฝ่ายใดจะรู้จักใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

รู้เท่าทันและพลิกแพลงในการประสาน